วัคซีน BCG ที่ฉีดทารกแรกเกิดคืออะไร ใช่รอยปลูกฝีหรือเปล่า?
โควิดยังไม่ซาโรคฝีดาษลิงก็มาระบาดแล้ว แม้จะยังห่างไกลจากการระบาดในประเทศไทยมากนัก แต่ถ้าหาวิธีป้องกันตัวเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า พอได้ยินคำว่า “ฝี” แล้วนึกดี ๆ เหมือนเคยได้ยินใครหลายคนพูดว่าทุกคนที่เกิดมาเคยปลูกฝีป้องกันฝีดาษแล้ว ไม่เชื่อลองถลกแขนเลื้อฝั่งซ้ายดูจะเห็นรอยปลูกฝี แต่บางคนก็บอกว่าไม่ใช่ นั่นมันรอยฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคสำหรับเด็กทารก (วัคซีน BCG) เอ… งงเลย แบบนี้ความจริงคืออะไรกันแน่ รอยที่แขนคือรอยปลูกฝีหรือรอยวัคซีน BCG เรื่องนี้ประกันติดโล่มีคำตอบมาให้แล้ว!
การปลูกฝีคืออะไร ใครบ้างที่มีรอยปลูกฝีช่วยป้องกันไข้ทรพิษ?
ในสมัยก่อนมีการปลูกฝีเกิดขึ้นเพราะตอนนั้นโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (Smallpox) ระบาดหนักมาก การปลูกฝีหรือการนำเชื้อไวรัสเข้าไปในหนองฝี แล้วปล่อยให้เชื้อเติบโตขึ้นจนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเลยเป็นวิธีป้องกันไข้ทรพิษในยุคนั้น แต่ว่าการปลูกฝีให้เด็กทารกเพื่อป้องกันโรคฝีดาษก็สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2517
เพราะ 3 ปีให้หลัง หรือ พ.ศ.2523 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้ยุติลงแล้ว เนื่องจากมีการปลูกฝีในเด็กทารกมากพอจนสามารถควบคุมโรคฝีดาษได้ จึงหยุดการปลูกฝีในเด็กทารก ตั้งแต่นั้นนั่นเอง ซึ่งวิธีสังเกตว่ารอยที่แขนซ้ายเป็นรอยปลูกฝีจริงๆ ใช่ไหม สามารถพิสูจน์ในเบื้องต้นได้ ดังนี้
วิธีสังเกตว่าใครบ้างเคยปลูกฝีหรือไม่เคยปลูกฝี
- คนที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2517 ล้วนมีโอกาสปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ
- คนที่เกิดหลังปี พ.ศ.2523 ล้วนมีโอกาสที่ไม่ได้ปลูกฝีเนื่องจากโรคฝีดาษหมดไปแล้ว
เกิดหลังปี 2517 แต่ก่อนปี 2523 มีรอยปลูกฝีหรือรอยวัคซีน BCG
คนที่เกิดหลังปี 2517 แต่ก่อนปี 2523 ถือเป็นช่วงเวลาที่ก้ำกึ่งมาก ๆ ไม่รู้ว่าที่แขนซ้ายเป็นรอยวัคซีน BCG หรือรอยปลูกฝีตอนเป็นทารกกันแน่ ประกันติดโล่มีวิธีสังเกตเบื้องต้นมาบอก คือถ้าเป็นรอยปลูกฝีดาษป้องกันไข้ทรพิษจะแผลแบนเรียบ แต่ถ้าเป็นรอยฉีดวัคซีน BCG จะเป็นแผลนูนขึ้นมานั่นเอง
รอยวัคซีน BCG คืออะไร ทำไมต้องฉีดให้เด็กทารกแรกเกิดด้วย
ใครที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ลองถลกแขนเสื้อฝั่งซ้าย คุณอาจพบรอยแผลเป็นนูน ๆ เล็ก ๆ อยู่ที่หัวไหล่ ซึ่งคุณอาจเคยได้ยินผู้ใหญ่หรือคนรอบตัวบอกว่ารอยนี้คือรอยปลูกฝีตอนเป็นทารกแรกเกิด แต่จริง ๆ ไม่ใช่เลย นี่เป็นรอยฉีดวัคซีน BCG หรือวัคซีนป้องกันวัณโรคในเด็กทารก แต่คนส่วนใหญ่ก็นิยมเรียกว่าปลูกฝีเหมือนสมัยก่อน
วัคซีน BCG (Bacillus Calmette-Guerin) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคที่ทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลง โดยจะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงาน เมื่อเตรียมรับมือกับเชื้อวัณโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ถ้าปล่อยปละละเลยอาจทำให้วัณโรคเล่นงานเด็กทารกแรกเกิดได้เลย ถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้เลย
เนื่องจากเชื้อไวรัสวัณโรคจะเข้าไปทำลายให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่จะทำให้เด็กสามารถเสียชีวิตได้ หรือในบางรายที่อาการรุนแรงน้อยลงมาคือ มีไข้ต่ำ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลดลง ถือว่าอันตรายมาก นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้วัคซีน BCG เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทารกแรกทุกคนต้องฉีด
ดังนั้น ถึงแม้จะฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคให้เด็กทารกแรกเกิดไปแล้ว แต่ถ้าคุณอยากได้ความคุ้มครองเพิ่มก็สามารถซื้อประกันสุขภาพและอุบัติเหตุไว้คุ้มครองความเสี่ยงให้ลูกรักได้อีกชั้นหนึ่งนะครับ
โรคฝีดาษลิงคืออะไร ระยะฟักตัวนานไหม อาการเป็นยังไง?
โรคฝีดาษลิง (Moneypox) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง โดยเชื้อไวรัสนี้เป็นไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus หรือเรียกได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถพบได้ในสัตว์ประเภทมีฟันแทะ เช่น กระรอก กระต่าย หรือหนูป่า ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้สามารถติดจากสัตว์สู่สัตว์ หรือติดจากสัตว์สู่คนได้อีกด้วย ถึงแม้โรคฝีดาษลิงจะพบได้ไม่บ่อย ๆ นัก แต่ว่าตอนนี้เริ่มมีข่าวว่ากลับระบาดแล้ว ดังนั้น การหาวิธีป้องกัน รู้ทันโรคฝีดาษลิงก็จำเป็นมาก ๆ นะครับ
มนุษย์ติดเชื้อฝีดาษลิงได้แบบไหนบ้าง กี่วันถึงจะออกอาการ
มนุษย์ที่ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากสัตว์ โดยมากแล้วมักจะเผลอไปสัมผัสสารคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค หรือนำซากสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคมาปรุงอาหาร ไม่ก็โดนสัตว์ที่เป็นโรคข่วนหรือกัด เมื่อได้รับเชื้อไวรัสฝีดาษลิงแล้วจะมีระยะฟักตัวเชื้อไวรัสอยู่ที่ 7-14 วัน แต่ในบางรายอาจจะฟักตัวนานถึง 21 วันครับ
ฝีดาษลิงจะมีอาการแสดงออกมายังไงบ้าง
- มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ *ต่อมน้ำเหลืองโต
- มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง โดยจะอักเสบและแห้งไปเองใน 2-4 สัปดาห์
- ท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ และมีอาการหอบ
*ข้อสังเกตคือฝีดาษแบบปกติจะไม่มีต่อมน้ำเหลืองโตเหมือนฝีดาษลิง*
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิงเพื่อลดการติดเชื้อไวรัส
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่การระบาดหรือแออัด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือสัตว์ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
- งดปรุงอาหารที่มาจากสัตว์ป่า เพราะอาจเป็นสัตว์ที่ป่วย
การปลูกฝีดาษจะช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ไหม?
เมื่อการปลูกฝีกับโรคฝีดาษลิงมีความเชื่อมโยงกัน คุณคนคงสงสัยแล้วว่าการปลูกฝีจะช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ไหม เรื่องนี้มีคำตอบ โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาบอกว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษคน สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ถึง 85% แต่ระบบภูมิคุ้มกันยังต้องดีอยู่! และถึงแม้ว่าวัคซีนฝีดาษจะห่างหายไปจากไทยเกือบ 40 ปีแต่ก็ยังมีการผลิตวัคซีนไข้ทรพิษออกมาอยู่ครับ
สรุป
คนที่เกิดก่อนปี 2523 จะได้รับการปลูกฝีดาษเนื่องจากต้องป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ และคนที่เกิดหลังจากนั้นจะได้มีได้รับการฉีดวัคซีน BCG หรือวัคซีนที่ฉีดให้เด็กทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันวัณโรค ซึ่งรอยวัคซีน BCG คนส่วนมากจะเรียกง่าย ๆ ว่าการปลูกฝี และสำหรับโรคฝีดาษลิงที่มีข่าวคราวว่าจะระบาดนั้น สามารถป้องกันได้จากวัคซีนไข้ทรพิษได้โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 85% ดังนั้น ต่อให้มีวัคซีนไข้ทรพิษที่ป้องกันโรคฝีดาษลิงได้โดยตรง แต่ก็จะดีกว่ามากหากคุณมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุคอยคุ้มครองความเสี่ยงอีกชั้นหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมโรค, tnnthailand