เม็ดฟู่ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ ลดเสมหะได้จริงไหม กินยังไง?

สำหรับการไอและมีเสมหะ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากๆ ในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ หรือแม้กระทั่งฝุ่น และมลพิษต่างๆ ที่คุณสูดดมเข้าไปในแต่ละวัน ซึ่งในตอนนี้มียาหลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการไอและลดเสมหะได้ หนึ่งในนั้นคือเม็ดฟู่ละลายเสมหะ ใครที่รู้ตัวว่ามีอาการไอ และเริ่มมีเสมหะเหนียวข้น ไม่สบายคอ และกำลังศึกษาวิธีการกินอยู่ เพื่อให้คุณกินยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราจะพาคุณมาทำความรู้จักยาชนิดนี้ก่อนเริ่มใช้กัน

เม็ดฟู่ละลายเสมหะ คืออะไร?

เม็ดฟู่ละลายเสมหะคือ

เม็ดฟู่ละลายเสมหะหรือที่เรียกอีกอย่างว่า “เม็ดฟู่ขับเสมหะ” เป็นยาประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอและลดความเหนียวข้นของเสมหะ ซึ่งยาชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน เมื่อละลายในน้ำจะเกิดฟองฟู่ขึ้น จึงเรียกกันว่า “เม็ดฟู่” นั่นเอง 

โดยเม็ดฟู่ขับเสมหะจะเป็นสารในกลุ่มมิวโคไลติก (Mucolytic) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เมื่อคุณกินเข้าไป เสมหะของคุณจะเหลวและทำให้คุณสามารถขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าคุณไม่กล้าใช้ยาขับเสมหะแบบเม็ดฟู ในปัจจุบันก็ยังมียาละลายเสมหะแบบชง แบบยาน้ำ และแบบเม็ดให้คุณได้เลือกกินอีกด้วยนะ

ยาละลายเสมหะ มีแบบไหนบ้าง?

ยาละลายเสมหะมีหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกใช้ แล้วจะต้องเลือกยังไงดี และยาละลายเสมหะจะมีแบบไหนบ้าง คุณสามารถดูได้ดังนี้

1.เม็ดฟู่ละลายเสมหะ

  • ลักษณะ : ยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ เป็นเม็ดกลมแบน เมื่อละลายในน้ำจะเกิดฟองฟู่
  • ข้อดี : สะดวกในการพกพา ละลายง่าย รสชาติดี เหมาะสำหรับผู้ที่กลืนยาเม็ดลำบาก
  • ข้อจำกัด : ต้องละลายในน้ำก่อนใช้ อาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำ

2.ยาน้ำละลายเสมหะ

  • ลักษณะ : ยาเม็ดฟู่แก้ไอแบบน้ำ เป็นของเหลวที่มีความข้น และหนืดพอสมควร
  • ข้อดี : ง่ายต่อการรับประทาน สามารถกำหนดปริมาณยาได้ เหมาะสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
  • ข้อจำกัด : พกพาไม่สะดวก อาจมีรสชาติไม่ดีสำหรับบางคน ต้องเก็บรักษาอย่างระมัดระวัง

3.ยาเม็ดละลายเสมหะ

  • ลักษณะ : เป็นเม็ดยาทั่วไป มีทั้งแบบเม็ดกลมและแคปซูล
  • ข้อดี : พกพาสะดวก ใช้ง่าย ไม่ต้องผสมน้ำ
  • ข้อจำกัด : ไม่เหมาะกับผู้ที่กลืนยาเม็ดลำบาก เช่น เด็กเล็กหรือผู้สูงอายุบางคน

4.ยาผงละลายเสมหะ

  • ลักษณะ : ยาละลายเสมหะแบบชง เป็นยาขับเสมหะแบบผงละเอียด มีทั้งแบบซองและขวด
  • ข้อดี : ละลายในน้ำได้ง่าย สามารถกำหนดปริมาณยาได้
  • ข้อจำกัด : อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนถ้าโดนความชื้น ต้องระวังในการเก็บรักษา

5.ยาพ่นละลายเสมหะ

ลักษณะ : เป็นสารละลาย ที่ใช้กับเครื่องพ่นยาเท่านั้น

ข้อดี : ออกฤทธิ์เร็ว เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ

ข้อจำกัด : ต้องใช้เครื่องพ่นยา อาจไม่สะดวกสำหรับการใช้นอกบ้าน

6.ยาอมละลายเสมหะ

ลักษณะ : มีทั้งแบบเม็ดแข็ง และเม็ดนิ่ม

ข้อดี : สะดวกในการใช้ ไม่ต้องดื่มน้ำ เหมาะสำหรับการบรรเทาอาการไอเฉพาะที่

ข้อจำกัด : อาจไม่เหมาะกับเด็ก เสี่ยงต่อการสำลัก ออกฤทธิ์ช้ากว่าเม็ดฟู่ละลายเสมหะและแบบอื่น

เม็ดฟู่ละลายเสมหะ กินตอนไหน กินยังไง?

เม็ดฟู่ละลายเสมหะกินยังไง

การใช้เม็ดฟู่อย่างถูกวิธี จะช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งยาเม็ดฟู่อย่างแนคลอง หรือ fluimucil a 600 ควรกินเวลาไหน กินตอนไหน กินยังไง มาดูกัน

เม็ดฟูขับเสมหะกินตอนไหน

  • โดยทั่วไป ยาเม็ดฟู่แก้ไอหรือขับเสมหะ สามารถกินได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร
  • ควรกินในช่วงเวลาที่มีอาการไอ หรือเวลามีเสมหะจำนวนมาก
  • ถ้าต้องการกินวันละหลายรอบ เราแนะนำให้แบ่งเวลากินให้สม่ำเสมอ (เช่น ทุก 4-6 ชม.)
  • ไม่ควรกินใกล้เวลานอน เพราะจะทำให้นอนหลับยาก

วิธีกินเม็ดฟู่ละลายเสมหะ

  • เตรียมน้ำในแก้วประมาณ 120-180 มิลลิลิตร (ครึ่งหนึ่ง หรือ 3/4 แก้ว)
  • นำเม็ดฟู่ใส่ลงไปในน้ำ รอจนกว่าเม็ดยาจะละลายหมด (ประมาณ 1-2 นาที)
  • ดื่มยาเม็ดฟู่แก้ไอที่ละลายแล้วทันที ไม่ควรทิ้งไว้นาน เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้
  • ถ้ามีตะกอนเหลืออยู่ที่ก้นแก้ว ให้เติมน้ำเล็กน้อยแล้วดื่มให้หมด เพื่อให้ได้รับยาครบถ้วน

คนท้อง คนมีโรคประจำตัว กินเม็ดฟู่ขับเสมหะได้ไหม?

ถ้าคุณคือคนท้องหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว การกินยาละลายเสมหะในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็น แนคลอง หรือ fluimucil a 600 และไม่ว่าตัวไหนๆ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้หรือกิน โดยแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้คนท้องหลีกเลี่ยงการกินยาในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะในส่วนผสมของยาละลายเสมหะเม็ดฟู่บางตัวมีสารที่อาจไม่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว อาจจะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น ดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคตับ : ควรระมัดระวังการกินยาเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของตับอย่างมาก 
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ : ควรระวังการกินยาที่มีส่วนผสมของยาขยายหลอดลม ซึ่งจะส่งผลทำให้การเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติได้ 
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน : ควรตรวจสอบส่วนประกอบของยาให้ดี เพราะในเม็ดฟู่แก้ไอบางชนิดอาจมีส่วนผสมของน้ำตาลผสมอยู่
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง : ควรระวังการกินยาที่มีส่วนผสมของยาลดน้ำมูก เพราะอาจทำให้คุณความดันโลหิตสูงขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร : ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะ

ข้อควรระวัง! สำหรับการกินยาละลายเสมหะแบบเม็ดฟู่

แม้ว่าเม็ดฟู่ละลายเสมหะจะเป็นยาที่หาซื้อได้ง่ายและใช้กันอย่างมากมายในตอนนี้ แต่ก็มีข้อควรระวังที่คุณควรรู้เพื่อความปลอดภัย และเพื่อการกินที่เห็นผลมากที่สุด

  • ตรวจสอบวันหมดอายุของยาก่อนซื้อเสมอ
  • สังเกตสภาพบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด
  • ควรอ่านฉลากและวิธีใช้อย่างละเอียดก่อนกินยา
  • หากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาเภสัช หรือแพทย์ก่อนกินยา
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยาเม็ดฟู่แก้ไอจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

สรุป การกินเม็ดฟู่ละลายเสมหะ

อาการไอและมีเสมหะจะหายได้ หากคุณเลือกกินยาที่เหมาะกับคุณ การใช้หรือกินยาละลายเสมหะอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะกินยาตัวไหน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้คือ แนคลอง หรือ fluimucil a 600 แนะนำให้ศึกษาวิธีกิน และเวลาที่กินให้ดี เพื่อโอกาสในการหายจากอาการป่วยที่รวดเร็วขึ้น 
สำหรับคนท้องและผู้ที่มีโรคประจำตัวทุกกรณี การปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินยาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าคุณเลือกกินเม็ดฟู่ละลายเสมหะ ในขณะที่คุณท้องหรือมีโรคประจำตัว อาจมีผลต่ออาการป่วยและเด็กในท้องได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินเสมอ เพื่อพิจารณาการกินยาในปริมาณที่เหมาะสมกับแต่ละคน และเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    186,378
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    35,520
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    31,741