โปรดระวัง! โรคแทรกซ้อนสุดอันตรายภัยร้ายจากโรคอ้วนลงพุง
การกินเป็นอีกหนึ่งวิธีคลายเครียดที่ดี เพราะไม่ว่าจะเจอเรื่องเลวร้ายแค่ไหน เพียงได้กินของอร่อยก็เหมือนได้เยียวยาจิตใจที่เหี่ยวเฉา หากถามว่าคนไทยเครียดแค่ไหน ก็ไม่ต้องไปค้นสถิติอะไรเลย วัดจากตัวเราหรือคนรอบข้างก็ได้ ลองหันซ้ายเครียดเรื่องเงิน หันขวาเครียดเรื่องงาน การกินให้ลืมทุกข์จึงดีที่สุด แต่ด้วยโควิด 19 ที่ยังระบาดทำให้หลายคนไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ประกันติดโล่เลยคิดได้ว่า กินอย่างเดียวอาจเกิดปัญหาโรคอ้วนลงพุง เลยอยากชวนมาดูว่า โรคอ้วนลงพุงคืออะไร ต้องมีค่า BMI เท่าไหร่ แล้วจะมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้างนะ?
โรคอ้วนลงพุงคืออะไร มีโรคแทรกซ้อนไหม ค่า BMI ต้องเท่าไหร่?
ขอออกตัวก่อนว่าประกันติดโล่สนับสนุนให้ทุกคนมีความสุขในการใช้ชีวิตนะครับ อยากกินอะไรกิน อยากดื่มอะไรดื่ม แต่ประกันติดโล่ก็อยากให้คุณคำนึงถึงภัยเงียบตัวร้ายที่แฝงตัวมากับโรคอ้วนลงพุงด้วย เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมา จากที่มีความสุขในชีวิตอาจต้องทุกข์ระทมกับความเจ็บป่วยด้วยภาวะโรคอ้วนลงพุงนี่แหละ
โรคอ้วนลงพุงเป็นภาวะที่บริเวณช่องท้องมีการสะสมไขมันเยอะเกินไป และเมื่อร่างกายมีการเผาผลาญที่ผิดปกติจะทำให้เกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) หมายถึงว่าไขมันที่สะสมอยู่จะแตกตัวออกเป็นไขมันอิสระ แล้วกระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา
เมื่อเห็นคำว่าอ้วนลงพุง คุณคงคิดว่า “ต้องเกิดในคนที่มีรูปร่างอ้วนท้วมแน่ๆ” เป็นเรื่องจริงแต่ไม่เสมอไป เพราะภาวะอ้วนลงพุงจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่มีไขมันสะสมในร่างกายเยอะเกินไป ดังนั้น การชั่งน้ำหนักแล้วใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัววัดจึงจะได้ข้อสรุปว่ามีโอกาสสุ่มเสี่ยง ซึ่งแพทย์จะนำผลนี้ไปวินิจฉัยต่อไป
โรคอ้วนลงพุงมีโรคแทรกซ้อนไหม ส่งผลเสียอะไรกับร่างกายบ้าง?
โรคอ้วนลงพุงเวลามาไม่ได้มาคนเดียว แต่จะพาเพื่อนร่วมแก๊งติดสอยห้อยตามมาอย่างโรคแทรกซ้อนมาด้วย และคุณที่อยู่ในภาวะโรคอ้วนลงพุงก็มีโอกาสมากที่จะเป็นโรคแทรกซ้อน บางโรคก็แสดงออกในทันที บางโรคไม่แสดงออกแต่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากๆ เมื่อวัดค่า BMI และถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนลงพุง คุณคงคิดว่าไม่เป็นอะไรหรอกเดี๋ยวค่อยรักษาก็ได้เพราะซื้อประกันสุขภาพเอาไว้แล้ว ซึ่งคิดแบบนี้ก็ถูกครับ แต่ประกันติดโล่ไม่อยากให้คุณละเลยสุขภาพของตัวเอง จึงอยากมาบอกว่าถ้าไขมันที่ละลายทำการกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้
- สมอง : ไขมันจะไปสะสมตามผนังเส้นเลือด แล้วขวางการไหลเวียนของเลือด มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนคือเส้นเลือดในสมองตีบ อาจเสียชีวิตแบบกะทันหันไปเลยก็ได้
- ปอด : เมื่อในช่องท้องมีไขมันเพิ่มขึ้นจะทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อเนื่องไปยังระบบหายใจผิดปกติ และทำให้ผู้อยู่ในภาวะโรคอ้วนลงพุงอาจหยุดหายใจขณะนอนหลับได้
- หัวใจ : เมื่อไขมันในช่องท้องกระจายสู่หลอดเหลือจนทำให้อุดตัน จะส่งผลให้หัวใจต้องสูบฉีดแรงขึ้น เมื่อสูบฉีดรุนแรงขึ้นมากๆ ก็จะมีโอกาสทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้
- ตับ : ไขมันในช่องท้องจะไปยับยั้งการเผาผลาญน้ำตาลในเซลล์ ตับเลยต้องทำงานหนักขึ้นมากเพื่อผลิตอินซูลินออกมา เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก็จะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนคือโรคเบาหวาน
- ถุงน้ำดี : น้ำดีจะถูกผลิตโดยตับ ซึ่งน้ำดีมีหน้าที่ช่วยย่อยไขมัน แต่ถ้าไขมันเยอะมากจนเกินไป เลยทำให้น้ำดีที่ผลิตออกมาข้นกว่าเดิม จนมีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่ายขึ้น
- หัวเข่า : การมีไขมันในช่องท้องแปลว่ามี “พุง” เมื่อมีพุงก็หมายถึงคุณมีน้ำหนักตัวเยอะขึ้น ซึ่งเข่าเป็นด่านแรกที่จะรับน้ำหนักจากด้านบน ทำให้เข่าทำงานหนักมากขึ้น อาจเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
ค่า BMI คืออะไร ต้องวัดค่า BMI เท่าไหร่ถึงจะเสี่ยงเป็นภาวะอ้วน
ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือ ค่ามาตรฐานที่มีไว้ประเมินภาวะอ้วนของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หรือถ้าจะบอกให้เข้าใจง่ายๆ คือ การหาค่าน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นว่าสภาวะร่างกายของคุณมีความสมดุลกับน้ำหนักส่วนสูงอย่างเหมาะสมหรือไม่ อ้วนหรือผอมไปหรือเปล่า โดยค่าBMI จะมีสูตร ดังนี้
น้ำหนักตัว[กิโลกรัม] / (ส่วนสูง[เซ็นติเมตร] ยกกำลังสอง)
ซึ่งถ้าคุณกังวลใจว่าจะเป็นโรคอ้วนลงพุงไหมต้องคิดค่า BMI ยังไง ขอบอกว่าไม่ต้องกดเครื่องคิดเลขให้เหนื่อย เพราะมีโปรแกรมคำนวณค่า MBI ให้ใช้ฟรีตามเว็บไซต์ต่างๆ มากมายเลยครับ ซึ่งเรื่องคือค่าของผลลัพธ์หลังจากที่คำนวณแล้วต่างหาก เพราะจะเป็นค่าที่บอกได้ว่าคุณกำลังผอมหรืออ้วนเกินไปหรือเปล่า
- ค่า BMI มากกว่า 30 : เข้าข่ายเกณฑ์อ้วนมาก ซึ่งอันตรายมากๆ
- ค่า BMI 25-29.9 : อ้วนในระดับหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยง
- ค่า BMI 23-24.9 : ไม่อ้วน แต่ถ้าในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงก็มีความเสี่ยง
- ค่า BMI 18.6 – 22.9 : น้ำหนักเหมาะสมจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน
- ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 : น้ำหนักน้อยกว่าปกติไม่ใช่เรื่องดี เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ซึ่งการหาค่าดัชนีมวลกาย ก็เพื่อให้รู้ว่าคุณนั้นควรปรับพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นไหม ควรออกกำลังกายเท่าไหร่ หรือควรเพิ่มเติมในส่วนไหนบ้าง แต่การค่า BMI ไม่ได้จะชี้วัดว่าคุณเป็นโรคอ้วนลงพุงได้อย่างแม่นยำหรอกครับ เพราะแพทย์ก็จะนำปัจจัยอื่นๆ มาวินิจฉัยประกอบกันด้วย
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าโรคอ้วนลงพุง มีเกณฑ์อะไรในการวินิจฉัยบ้าง?
สามารถทำการวัดเส้นรอบเอวได้เลย โดยวิธีวัดคือให้ใช้สะดือเป็นจุดตรงกลางแล้วนำสายวัดวนรอบเอว ถ้าได้ผลลัพธ์ออกมาเกินส่วนสูงที่หาร 2 แปลว่าอยู่ในสภาวะอ้วนลงพุงแล้ว เช่น ถ้าคุณสูง 170 ซม. เส้นรอบเอวต้องไม่เกิน 85 ซม. ซึ่งผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 ซม. และผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.
ถ้าหากว่าเส้นรอบพุงหรือเอวของคุณเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. เท่ากับว่าคุณสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 3-5 เท่าด้วย เห็นไหมครับว่า ภาวะอ้วนลงพุงน่ากลัวมาก พาโรคร้ายแรงมาหาคุณเต็มไปหมด ซึ่งการวัดเส้นรอบเอวจะถูกพิจารณากับปัจจัยอื่นในการวินิจฉัยด้วยว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นภาวะอ้วนลงพุงไหม คือ
- ความดันโลหิต 130 ต่อ 85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
- น้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
- คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ซึ่งทั้งหมดนี้จะผ่านการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะครับ
อ้วนลงพุงมีสาเหตุมาจากอะไร ทำยังไงถึงจะลดพุงลดโรคได้บ้าง?
คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนลงพุงเยอะขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 30 หรือมีผู้ป่วยมากกว่า 20 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด โดยข้อมูลนี้ ผศ.พญ.ศานิต วิชานศวกุล อ้างอิงจากการสำรวจสุขภาพคนไทยครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปมีภาวะอ้วนร้อยละ 42.2 และอ้วนลงพุงร้อยละ 39.4
โดยกรุงเทพเป็นจังหวัดที่เสี่ยงสูงสุด ซึ่งภาวะอ้วนลงพุงนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนอย่าง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากไม่รู้ว่าตนเองป่วย ไม่รู้สาเหตุที่ทำให้ตัวเองป่วย ทำให้ไม่ได้รักษาก่อนมีโรคแทรกซ้อนตามมา
ประกันติดโล่จึงเล็งเห็นว่า หากปล่อยเอาไว้ไม่ดีแน่ๆ เลยอยากมาแชร์ข้อมูลว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน และคุณจะสามารถควบคุมโรคอ้วนได้ไหม แม้คุณจะมีประกันสุขภาพ หรือประกันโรคมะเร็งแล้ว ประกันติดโล่ก็ไม่อยากให้วางใจว่าเดี๋ยวค่อยรักษาก็ได้ เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมานอกป่วยกายยังส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย
โรคอ้วนลงพุงเกิดจากอะไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
- การกินอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลมากเกินไป
- กินอาหารไม่ครบ 5 หมวดหมู่ตามที่ร่างกายต้องการ
- กินอาหารฟาสต์ฟู้ดหรือจังก์ฟู้ดบ่อยๆ
- ขาดการออกกำลังกาย ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่เผาผลาญ
- ความเครียดทำให้ร่างกายผลิตออกซิเจนน้อยลง ระบบเผาผลาญทำงานไม่เต็มที่
- นอนไม่หลับ นอนดึก พักผ่อนน้อย ทำให้ต้องหิวและกินอาหารผิดเวลา
- กรรมพันธุ์คนในครอบครัว หากมีคนเคยเป็นโรคอ้วนลงพุง คุณก็มีโอกาสเช่นกัน
ควบคุมน้ำหนักอย่างไรไม่ให้โรคอ้วนลงพุงถามหา
การควบคุมน้ำหนักไม่ให้โรคอ้วนลงพุงถามหาสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่คนมักใช้กันคือการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร และออกกำลังกายควบคู่กันอย่างสม่ำเสมอ เพราะการกินอาหารจะทำให้ร่างกายได้สารอาหารที่เปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งร่างกายแต่ละคนก็ต้องการปริมาณสารอาหารในแต่ละวันไม่เท่ากัน
และการรู้อัตราการความต้องการเผาผลาญ หรือ Basal Metabolic Rate (BMR) จะทำให้คุณรู้ว่าร่างกายต้องการปริมาณอะไรเท่าไห่รในแต่ละวัน เลือกกินอาหารได้ง่ายขึ้น เพราะสินค้าทุกประเภทจะระบุจำนวนกิโลแคลอรี่ประกอบเอาไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยควบคุมหนักได้เป็นอย่างดี และควรทำไปควบคู่กับการออกกำลังกายด้วย
โดยคุณสามารถค้นหาวิธีคิดค่า BMR ได้ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ เลยครับ ไม่จำเป็นจะต้องมาบวกลบคูณหารสูตรเองให้ปวดสมอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประกันติดโล่อยากให้คุณไม่ลืมคือ ค่า BMR ที่ได้มาเป็นปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันโดยไม่ต้องขยับร่างกาย หากกินเกินไปกว่านี้ก็อาจส่งผลให้อ้วนลงพุง และมีโรคแทรกซ้อน
แต่ในชีวิตของประจำวันต้องเดิน วิ่ง ขึ้นลงบันไดอยู่แล้ว แปลว่าร่างกายใช้พลังงานไปและต้องการพลังงานใหม่มาทดทน ดังนั้น ถ้าคุณกินอย่างเดียวไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วนลงพุงถามหาแน่ๆ ครับ
สรุป
ภาวะลงพุงนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเข่าข้อเสื่อม ฯลฯ ซึ่งบางโรคก็เห็นผลต่อสุขภาพทันที แต่บางโรคก็ทำร้ายสุขภาพในระยะยาว โดยวิธีควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นสิ่งที่จะช่วยให้โรคอ้วนลงพุงหนีคุณไปให้ไกลขึ้น เพราะร่างกายได้เผาผลาญสารอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการออกไป โรคอ้วนลงพุงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่คนอ้วนท้วมเท่านั้น แต่บุคคลที่มีไขมันในช่องท้องทุกคนมีสิทธิ์เป็นได้ครับ ได้โปรดอย่าชะล่าใจกับโรคอ้วนลงพุงเลย อย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีกันด้วยนะครับ และถึงแม้จะมีประกันสุขภาพคอยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเวลาป่วยขึ้นมา แต่จะดีกว่าไหมครับถ้าร่างกายแข็งแรงไร้ความเจ็บป่วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : itax, กรมสรรพากร