อัปเดต! เตรียมตัวต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง?
การทำพ.ร.บ.รถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นหน้าที่สำคัญของคนมีรถทุกประเภท การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ เป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกภาคบังคับ เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันและทุกประประเภทต้องทำ และจะต้องมีการต่อพ.ร.บ.รถในทุก ๆ ปี โดยวัตถุประสงค์หลักของพ.ร.บ.รถยนต์ คือ เพื่อให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนรวมไปถึงคนใช้ทางเท้าด้วยนั่นเอง มาดูกันเลยดีกว่า ถ้าจะต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง?
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง?
เอกสารต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่จำเป็นต้องเตรียม มีดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
ต่อพ.ร.บ. ต้องตรวจสภาพรถไหม?
สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่มีรถอายุครบ 7 ปีขึ้นไป และในกรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่มีรถอายุ 5 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสภาพรถที่ตรอ. ทุกปีก่อนไปดำเนินการต่อพ.ร.บ.เท่านั้น และหากรถของคุณที่ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 1 ปี โดยไม่สนว่ารถจะมีอายุการใช้งานมากี่ปีแล้วก็ตาม จะต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อพ.ร.บ.เสมอ
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?
เมื่อเตรียมเอกสารตามที่เราแนะนำไปข้างต้นเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมอัปเดตข้อมูลต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท เพื่อเตรียมเงินไปให้พร้อม และศึกษาวิธีต่อ พ.ร.บ.กันไว้ด้วยนะครับ โดยคุณสามารถต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ที่
- ตัวแทนประกันภัย หรือโบรกเกอร์ประกันภัย
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
- กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งทุกพื้นที่
(สามารถทำผ่านเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก ผู้ใช้งานครั้งแรกหากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ก่อน)
ประกันติดโล่ขอแนะนำ! ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
เมื่อคุณเตรียมเอกสารต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่ได้แจ้งไปข้างต้นเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กับประกันติดโล่ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก จะทำผ่านแอปเงินติดล้อ หรือโทรสอบถามข้อมูลที่เบอร์ 1501 ได้ตลอด 24 ชม. ให้คุณได้รับความคุ้มครองทันที พร้อมรับกรมธรรม์ภายใน 5 นาที โดยไม่มีการบวกค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติม
ตัวอย่างพ.ร.บ.รถยนต์ VS ป้ายภาษี
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพ.ร.บ.รถยนต์กับภาษีรถยนต์คือคนละส่วนกัน โดยคุณจำเป็นต้องทำพ.ร.บ.รถยนต์ให้เรียบร้อยก่อนจึงจะจ่ายภาษีรถยนต์ได้ โดยพ.ร.บ.รถยนต์จะเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำ แต่ภาษีรถยนต์เป็นการจ่ายค่าภาษีของคนมีรถทุกคน ที่รัฐบาลจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการบำรุงรักษาถนน เพื่อการขนส่งสาธารณะ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เนื่องจากการใช้รถใช้ถนนร่วมกันนั่นเอง
รู้หรือไม่? ภาษีรถยนต์ของรถแต่ละคันจ่ายไม่เท่ากัน
ค่าภาษีรถยนต์จะขึ้นอยู่กับประเภทรถของคุณเป็นหลัก เช่น รถ SUV หรือรถที่มีขนาดใหญ่จะต้องเสียภาษีรถยนต์มากกว่ารถเก๋งทั่วไป หรือรถใช้น้ำมันก็อาจจะต้องเสียภาษีมากกว่ารถที่ใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจเสนอการลดหรือยกเว้นภาษีสำหรับรถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนขับรถหันมาใช้งานรถประเภทนี้กันมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ทำไมต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์?
แม้ว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองในระดับหนึ่ง แต่อาจไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าความเสียหายต่อรถยนต์ หรือค่ารักษาพยาบาลของตัวคุณเอง ดังนั้น นอกจากการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว หลายคนจึงเลือกทำประกันรถยนต์เพิ่มเติมด้วย มาทำความเข้าใจจุดประสงค์หลักของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ว่าทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำ
1. การคุ้มครองบุคคลภายนอก
จุดประสงค์หลักของการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด บุคคลอื่น (หรือบุคคลที่สาม) ที่ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินในครั้งนั้น จะได้รับการชดเชยอย่างแน่นอน เพราะหากไม่มีกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำและต่อพ.ร.บ.ในทุก ๆ ปี บุคคลที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุอาจไม่มีความพร้อมทางการเงินในการจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้น และส่งผลให้เหยื่อหรือบุคคลภายนอกไม่ได้รับการชดเชยเลย
2. การคุ้มครองผู้ทำประกันภัย
แม้ว่าจุดประสงค์หลักของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือการคุ้มครองบุคคลอื่น (หรือบุคคลที่สาม) แต่ก็ยังให้ความคุ้มครองในระดับหนึ่งสำหรับผู้ทำประกันภัยเองด้วย ตัวอย่างเช่น ช่วยครอบคลุมค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย หากผู้ทำประกันภัยถูกฟ้องร้องเนื่องจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น เป็นต้น
3. การปฏิบัติตามกฎหมาย
อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันดีแล้วว่า การทำหรือต่อพ.ร.บ.รถยนต์บังคับให้ต้องทำตามกฎหมาย รัฐบาลจึงสามารถรับประกันความรับผิดชอบของผู้ขับขี่ได้ด้วยวิธีนี้ อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนผู้ขับขี่ที่ไม่มีประกันภัยบนท้องถนนได้ ส่งผลให้การใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถรับค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
สรุป การต่อพ.ร.บ.รถยนต์
โดยทั่วไปแล้วการต่อพ.ร.บ.รถยนต์เจ้าของรถหลายคนมักทำไปพร้อม ๆ กับตอนที่ทำประกันรถยนต์เลย ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือประกันรถชั้น 3+ เพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินการ และไม่ต้องกังวลเรื่องขาดต่อพ.ร.บ. เพราะส่วนใหญ่บริษัทประกันมักจะเสนอขายพ.ร.บ.รถยนต์และประกันรถยนต์มาพร้อม ๆ กันเลย แต่อย่างไรก็ตามการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้างนั้น ไม่ว่าจะเลือกต่อแบบไหน ก็ยังคงต้องเตรียมเอกสารเหมือนที่เราได้แนะนำไป เพิ่มความรวดเร็วและลดความยุ่งยากในการดำเนินการ
ขอบคุณข้อมูลจาก: ตรอ.