รู้ก่อนซื้อ! รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

7,015

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า “รถ EV” เป็นหนึ่งในประเภทของรถยนต์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีสมรรถนะในการทำงานที่ใกล้เคียงกับรถยนต์สันดาป ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง บวกกับข้อดีต่าง ๆ มากมาย เช่น รูปลักษณ์ที่สวยงาม การประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และไม่สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม จึงไม่แปลกใจเลยที่รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของคนที่กำลังจะซื้อรถยนต์คันใหม่มาใช้งาน

รถยนต์ไฟฟ้ากับครอบครัว

เพื่อให้คุณซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานได้ตอบโจทย์ความต้องการที่สุด ประกันติดโล่ได้รวมเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาให้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ข้อดีของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงวิธีค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ใครที่กำลังคิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งาน ห้ามพลาดบทความนี้เลย!

 

รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท?

ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาดจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ไฮบริด (HEV), ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV), เซลล์เชื้อเพลิงเพลิง (FCEV) และแบตเตอรี่ (BEV) มีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

1. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV)

หรือที่เรียกว่า “รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม” เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้มีกำลังและอัตราการเร่งของรถยนต์สูงที่กว่ารถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันได้มากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวได้มาก

รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดนั้น จะไม่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟได้ แต่จะใช้พลังงานจลน์ที่ได้จากเครื่องยนต์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วนำมาเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อนำมาจ่ายเป็นพลังงานให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าต่อไป เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การสนับสนุนการเบรกแบบผันกลับ (Regenerative braking)

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดที่มีวางจำหน่ายในไทย

  • Toyota Camry Hybrid  (โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด)
  • Toyota C-HR Hybrid (โตโยต้า ซี-เอชอาร์ ไฮบริด)
  • Toyota Alphard Hybrid (โตโยต้า อัลฟาร์ด ไฮบริด)
  • Toyota Prius Hybrid (โตโยต้า พรีอุส ไฮบริด)
  • Toyota Altis Hybrid (โตโยต้า อัลติส ไฮบริด)
  • Honda Accord Hybrid (ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด)
  • Nissan X-Trail Hybrid (นิสสัน เอกเทรล ไฮบริด)

รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดเหมาะกับการใช้งานในเมืองที่มีการจราจรติดขัด ทำให้ต้องเหยียบคันเร่งสลับกับเหยียบเบรกเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้ในช่วงที่รถติด รถยนต์จะไม่ต้องสิ้นเปลืองการใช้น้ำมันมาก ซึ่งช่วยลดการปล่อยมลภาวะได้มาก

2. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle: PHEV)

หรือที่เรียกว่า “รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสมแบบเสียบปลั๊ก” เป็นรถยนต์ที่มีลักษณะการทำงานและชิ้นส่วนคล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด แต่จะแตกต่างกันตรงที่สามารถชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ทำให้สามารถสลับไปใช้งานการขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในระยะสั้น ๆ ได้

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริดที่มีวางจำหน่ายในไทย

  • BMW plug-in hybrid (บีเอ็มดับเบิลยู ปลั๊กอิน ไฮบริด)
  • Mercedes-Benz plug-in hybrid (เมอร์เซเดสเบนซ์ ปลั๊กอิน ไฮบริด)
  • Audi plug-in hybrid (รถอาวดี้ ปลั๊กอิน ไฮบริด)

รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสมแบบเสียบปลั๊กจะเหมาะกับคนที่อยากใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องเดินทางไกลข้ามจังหวัด หรือเดินทางไปในจังหวัดที่ยังไม่มีการชาร์จรถไฟฟ้า จึงทำให้การใช้งานรถยนต์ประเภท PHEV ตอบโจทย์มากที่สุด

3. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิงเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV)

หรือที่เรียกว่า “รถไฮโดรเจน” เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นหลัก แต่จะแตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าประเภทอื่นตรงที่ใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยไฮโดรเจนจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของเหลว หลังจากนั้นจะถูกส่งไปที่แผงเซลล์ร่วมกับอากาศที่มีออกซิเจน เพื่อทำปฏิกิริยาในการสร้างไฟฟ้า หลังจากนั้นไฟฟ้าจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าต่อไป จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้ต้องเติมพลังงานไฮโดรเจนแทนการชาร์จไฟนั่นเอง

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิงเพลิง

  • Toyota Mirai (โตโยต้า มิไร)
  • Hyundai Nexo (ฮุนได เนกโซ่)
  • Honda Clarity Fuel Cell (ฮอนด้า คลาริตี้ ฟิวเซลล์)

แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิงเพลิงจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป แต่ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงอยู่ จึงทำให้ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของทั้งไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังไม่ค่อยเหมาะที่จะใช้ในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ค่อยมีสถานีเติมไฮโดรเจนเปิดให้บริการ

4. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV)

หรือที่เรียกว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” จัดเป็นประเภทรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุด โดยจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้มีแบตเตอรี่ที่ใหญ่มาก ๆ มีข้อดีตรงที่ไม่มีการปล่อยควันไอเสียออกมาเลย 100% แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ต้องชาร์จพลังงานไฟฟ้าก่อนใช้งานทุกครั้ง และจะต้องคำนวณระยะทางการเดินทางต่อพลังงานไฟฟ้า และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ดี

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ที่มีวางจำหน่ายในไทย

  • Tesla (เทสล่า)
  • Nissan Leaf (นิสสัน ลีฟ)
  • MG ZS EV (เอ็มจี ซีเอส อีวี)
  • Hyundai IONIQ EV (ฮุนได ไอออนิค อีวี)
  • BMW i3  (บีเอ็ม ไอ3)
  • Kia Soul EV (เกีย โซล อีวี)
  • BYD E6 (บีวายดี อี6)
  • Audi e-tron (อาวดี้ อีตรอน)

รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่จะเหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง หรือขับในระยะทางใกล้ ๆ มากกว่าระยะไกล ซึ่งถ้าหากจำเป็นต้องเดินทางไกลด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาเส้นทางและสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ดี เพื่อที่จะได้วางแผนการชาร์จไฟได้อย่างเหมาะสม และไม่เกิดปัญหาพลังงานไฟฟ้าหมดกลางทาง

 

ข้อดี-ข้อเสียของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

หลังจากที่รู้แล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เชื่อว่าหลายคนก็คงตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดีที่ตอบโจทย์ที่สุด แต่สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่ารถยนต์ไฟฟ้าเหมาะกับตัวเองจริง ๆ ไหม เราได้รวมข้อดี-ข้อเสียของการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามาให้แล้ว สามารถนำข้อมูลด้านล่างนี้ไปประกอบการตัดสินใจได้เลย

ข้อดีของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลภาวะทางอากาศ ไม่มีการปล่อยไอเสีย
  • รถยนต์ไฟฟ้ามีความเงียบมากกว่ารถยนต์สันดาป ไม่มีเสียงเวลาขับขี่ จึงลดมลพิษทางเสียงได้มาก
  • รถยนต์ไฟฟ้ามีให้เลือกใช้งานหลายรุ่น หลายยี่ห้อ โดยมีหลายรุ่นมากที่มีสมรรถนะเทียบเคียงกับรถยนต์สันดาป ซึ่งคุณสามารถเลือกรถยนต์ไฟฟ้าที่มีสมรรถนะการใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการได้เลย
  • การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เนื่องจากพลังงานไฟฟ้ามีราคาที่ถูกกว่า และไม่ต้องคอยเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเหมือนเครื่องยนต์สันดาปด้วย

ข้อเสียของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาที่สูงอยู่ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง
  • รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะมีการกำหนดระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้งที่ชัดเจน ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องวางแผนการชาร์จระหว่างทางให้ดี ในกรณีที่ต้องเดินทางระยะไกล
  • อาจมีข้อจำกัดการใช้งานในบางพื้นที่ เนื่องจากสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย

 

รวม 5 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

เตรียมพร้อมก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับใครที่ตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เราขอแนะนำให้คุณติดตั้ง 5 สิ่งนี้ให้พร้อม เพื่อที่จะได้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างสบายใจ ไม่มีปัญหามากวนใจในภายหลัง ได้แก่

  • ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านที่มีแอมป์เหมาะสมและรองรับกับรถยนต์ไฟฟ้า
  • เปลี่ยนขนาดสายไฟฟ้าเข้าบ้าน หรือที่เรียกว่า “สายเมน” และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ให้สอดคล้องกับมิเตอร์ไฟฟ้าอันใหม่
  • ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า (Main Distribution Board: MDB) แยกสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (Earth-Leakage Circuit Breaker) เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
  • ติดตั้งหัวชาร์จไฟฟ้า (EV Socket) จากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่ามีขั้นตอนการติดตั้งอย่างไร สามารถสอบถามกับผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ไปใช้บริการได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยดำเนินการเรื่องเหล่านี้อยู่

 

แนะนำวิธีค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใกล้ฉัน จะขับไปไหนก็ไร้กังวล

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใกล้ฉัน

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าต้องให้ความสำคัญ และควรศึกษาไว้ว่ามีที่ไหนบ้าง เพื่อที่เวลาต้องการชาร์จไฟฟ้าจะได้หาสถานีเจอ ไม่เกิดปัญหาไม่มีที่ชาร์จ หรือพลังงานไฟฟ้าหมดกลางทาง จนทำให้ไม่สามารถใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้

สำหรับใครที่ไม่รู้จะหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ไหนดี ประกันติดโล่มี 2 วิธีค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใกล้ฉันแบบง่าย ๆ มาฝาก จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

  • วิธีที่ 1 : ค้นหาจาก Google Map โดยค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า, จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า, EV Charging, EV Charging Stations หรือ EV Charger เป็นต้น
  • วิธีที่ 2 : ค้นหาจากแอปพลิเคชันผู้ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า เช่น EVolt,  EA Anywhere,  PlugShare, MEA EV, EV Station PluZ, PEA VOLTA หรือ GO TO-U ซึ่งบางแอปพลิเคชันจะมีฟังก์ชันการจองคิวใช้งานล่วงหน้าได้อีกด้วย

 

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลย

ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแล้ว ก็อย่าลืมที่จะทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าก่อนที่จะนำรถไปขับขี่ด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์สันดาปก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนกัน สำหรับใครที่ไม่รู้จะไปทำประกันรถยนต์ที่ไหนดี? เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากประกันติดโล่ที่มาพร้อมกับแผนประกันที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แผนประกันรถยนต์ชั้น 1, แผนประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ แผนประกันรถยนต์ชั้น 3+

 

ประกันติดโล่พร้อมให้ความคุ้มครองในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การชน สูญหาย ไฟไหม้ อุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล และการประกันตัวผู้ขับขี่ ซื้อประกันรถยนต์ราคาสบายกระเป๋า ด้วยโปรโมชันผ่อนสด  0% นานสูงสุด 10 เดือนได้เลย ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก รับรองว่าใช้ประกันรถยนต์จากประกันติดโล่ จะช่วยให้คุณใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างสบายใจแน่นอน!

 

สรุปเรื่องประเภทรถยนต์ไฟฟ้า EV

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ประกันติดโล่นำมาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท และทำให้คุณสามารถเลือกรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สุดได้ รถยนต์ไฟฟ้านั้น แม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน ต้องคำนวณระยะทางและการชาร์จไฟฟ้าให้ดี แต่ก็นับเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ยานพาหนะเดินทางที่ไม่สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ถ้าหากคุณศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมให้ดีก่อนใช้งาน ก็มั่นใจได้เลยว่าการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: ทันข่าว, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, CARRO



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    184,828
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    35,225
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    31,602