สายปิ้งย่างต้องรู้! ชอบกินของปิ้งย่าง มะเร็งถามหาจริงหรือไม่
หมูกระทะ หมูปิ้ง ปิ้งย่างเกาหลี เมนูยอดฮิตของใครหลายคน ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่ากินบ่อย ๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ตับ ทางเดินอาหาร หรือมะเร็งเต้านมได้ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเมนูปิ้งย่างก็สุดแสนจะอร่อย ถ้าเลิกกินไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องมาทำความเข้าใจว่า กินอาหารปิ้งย่างอย่างไร ถึงจะลดความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งในอาหารให้ได้มากที่สุด ประกันติดโล่ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
กินของปิ้งย่าง มะเร็งถามหาจริงหรือไม่?
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เคยประกาศเตือนประชาชนเกี่ยวกับการกินอาหารปิ้งย่าง หรือกินหมูกระทะที่ปิ้งจนไหม้เกรียม หากกินเป็นประจำจนมีการสะสมเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารก่อมะเร็งในอาหาร หรือสารอันตรายที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ง่ายยิ่งขึ้น
สารก่อมะเร็งในอาหารมีอะไรบ้าง
สารก่อมะเร็งในอาหารมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
- Heterocyclic amines (HCAs)
เกิดขึ้นจากโปรตีนในเนื้อสัตว์ทำปฏิกิริยากับความร้อน จนก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งในอาหาร HCAs ขึ้นมา เมื่อเราเอาเนื้อสัตว์ไปปิ้งย่างบนเตาที่มีความร้อนสูง เมื่อสัมผัสกับเตาปิ้งย่างโดยตรงจะทำให้สีของเนื้อสัตว์กลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ และยิ่งเนื้อสัตว์มีสีเข้มมากเท่าไรก็ยิ่งมีสาร HCAs มากขึ้นเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุว่า เนื้อปิ้งจนไหม้ หมูไหม้ หรือการกินของไหม้ เสี่ยงมะเร็งมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
- Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs)
เกิดขึ้นเมื่อไขมันจากเนื้อสัตว์หยดลงไปบนเตาจนทำให้เกิดควันที่เป็นสารก่อมะเร็ง PAHs ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับควันบุหรี่และท่อไอเสีย ควันที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์นี้ จะมาเกาะอยู่บนพื้นผิวของเนื้อสัตว์ที่เรากำลังปิ้งย่างอยู่ มักพบตรงบริเวณที่ไหม้เกรียม อีกหนึ่งสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งตับและท่อน้ำดีนั่นเอง
ประกันติดโล่สรุปให้ 5 อันดับโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด
จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2557 พบว่ามะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในประเทศไทยอันดับหนึ่ง คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวน 15,305 คน โดย 5 อันดับโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยไป ได้แก่
- โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งปอด
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- โรคมะเร็งปากมดลูก
กินปิ้งย่างอย่างไร ลดความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งในอาหาร
จริง ๆ แล้วเมนูปิ้งย่างที่เราชอบกินกันนั้น ยังพอมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสารก่อมะเร็งในอาหารได้บ้าง เป็นเคล็ดลับที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ที่ประกันติดโล่สรุปมาให้ เพื่อช่วยให้คนที่รักการกินอาหารปิ้งย่างรู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ
1. เตาหรือตะแกรงสำหรับปิ้งย่าง
เตาหรือตะแกรงที่ใช้ปิ้งย่างอย่างเช่น ร้านหมูปิ้ง ควรทำความสะอาดเพื่อล้างสิ่งตกค้างจากการปิ้งย่างในครั้งก่อน หรือทางที่ดีที่สุดเมื่อใช้เสร็จก็ควรล้างทำความสะอาดก่อนการใช้งานครั้งต่อไป อีกทั้งก่อนการใช้งานเตาหรือตะแกรง ให้เริ่มด้วยการอุ่นเตาให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดการก่อตัวของสารที่เป็นอันตรายได้ด้วย การเลือกใช้เตาไฟฟ้าคุณภาพสูงที่ควบคุมอุณหภูมิและกระจายความร้อนได้ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสารก่อมะเร็งในอาหารได้เช่นกัน
2. เลือกใช้เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย
พยายามเลือกใช้เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย เพราะเมื่อไขมันจากเนื้อสัตว์หยดลงไป ไฟจะลุกจนเกิดเป็นควันที่มีสารก่อมะเร็งอย่าง PAHs ไปเกาะอยู่บนผิวของเนื้อสัตว์ที่เรากำลังปิ้งย่างอยู่ ดังนั้น หากต้องการกินส่วนที่ติดมันจริง ๆ ก็พยายามตัดไขมันออกจากเนื้อสัตว์ไปบ้างก่อนจะทำการปิ้งย่างนะครับ
อีกทั้งยังมีข้อมูลจากหลายงานวิจัยพบว่า สารก่อมะเร็งมักถูกพบบริเวณผิวของเนื้อสัตว์ ดังนั้น การหมักเนื้อสัตว์ด้วย ตะไคร้ พริกไทย กระเทียม ออริกาโน หรือโรสแมรี ก่อนนำไปปิ้งย่างสัก 30 นาที จะช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งได้ถึง 90% เลยทีเดียว
3. ใช้ความร้อนที่เหมาะสม
การปิ้งย่างด้วยอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสมและด้วยวิธีการปิ้งย่างที่ถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสารก่อมะเร็งในอาหารได้ เนื่องจากจากโปรตีนในเนื้อสัตว์เมื่อโดนความร้อนสูงโดยตรงบนเตาปิ้งย่าง จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งอย่าง HCAs และยิ่งเนื้อสัตว์มีสีเข้มมากเท่าไรก็ยิ่งมีสาร HCAs มากขึ้นเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเนื้อปิ้งจนไหม้ หมูไหม้ หรือการกินของไหม้ เสี่ยงมะเร็งนั่นเอง เทคนิคการกินปิ้งย่างที่สำคัญคือ พยายามเลือกใช้เนื้อสัตว์ชิ้นบาง ๆ อย่าหนาจนเกินไป และทำการพลิกบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้เนื้อสัตว์สุกอย่างทั่วถึง และลดโอกาสสัมผัสกับความร้อนสูงนาน ๆ จนไหม้เกรียม
สรุป การกินอาหารปิ้งย่าง
สิ่งสำคัญที่ต้องระวังในการกินอาหารปิ้งย่าง คือ การเลือกใช้ความร้อนในการทำให้เนื้อสัตว์สุก และไขมันจากเนื้อสัตว์ที่ทำให้เกิดควันไฟ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งในอาหารอย่าง HCAs และ PAHs ดังนั้น กินของปิ้งย่างมะเร็งถามหาแน่นอนหากกินเป็นประจำและกินทั้งหมูไหม้ เนื้อสัตว์ไหม้ ประกันติดโล่เข้าใจคนรักเมนูปิ้งย่าง ลองทำตามวิธีกินปิ้งย่างที่เราแนะนำไปข้างต้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งได้บ้าง หรือเพิ่มความสบายใจในการใช้ชีวิตด้วยประกันมะเร็ง หากตรวจเจอ ก็จ่ายก้อนแรกให้ทันที ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เบี้ยเริ่มต้นวันละ 3 บาทเท่านั้นครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมอนามัย