รถล้มเองเบิกพ.ร.บ.ได้เท่าไหร่ เคลมค่ารักษาได้ไหม?

10,844

“รถล้ม” เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งกับผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซต์ เช่น ขับรถล้มเอง ยิ่งหากเกิดเหตุรถล้มกลางคืนด้วยแล้ว ก็ยิ่งอันตรายกับผู้ขับขี่มากขึ้น โดยเฉพาะอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์แบบที่ไม่มีคู่กรณี แน่นอนว่าอุบัติเหตุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รถล้มเอง คนส่วนใหญ่เลยมักจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ที่ต่อไปนั้น หากเป็นกรณีรถล้มเองเบิก พ.ร.บ. ได้หรือไม่ หรือเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้บ้าง ประกันติดโล่จะมาตอบทุกข้อสงสัยครับ

 

รถล้มเองไม่มีคู่กรณี เบิกพ.ร.บ. ได้เท่าไหร่?

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้นจะคุ้มครองผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทุกกรณีโดย ไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น กรณีรถล้มเอง, ชนแล้วหนี หรือกรณีที่ยังไม่สามารถตัดสินความผิดได้ ดังนั้น รถล้มเองไม่มีคู่กรณี สามารถเบิกพ.ร.บ. ได้ แล้วพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เบิกอะไรได้บ้าง?

รถล้มเองไม่มีคู่กรณี เบิกพ.ร.บ. ได้เท่าไหร่

เมื่อขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะคุ้มครองค่าเสียหายในการรักษาพยาบาล ทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้ซ้อน ซึ่งการจ่ายค่าชดเชยกรณีรถล้มเองหรือรถล้มแบบไม่มีคู่กรณีนั้น จัดอยู่ในการเกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งจะแบ่งการจ่ายชดเชยออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ (จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง) วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 30,000 บาท ต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะ วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 35,000 บาท ต่อคน
  • กรณีบาดเจ็บ และเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะตามมา วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 65,000 บาท ต่อคน

วงเงินค่าชดเชยข้างต้น หากเกิดเหตุรถล้มเองสามารถเบิกได้ทั้งผู้ขับและผู้ซ้อนเลย โดยจะต้องดำเนินการทางเอกสารภายใน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดเหตุ ซึ่งหลังจากที่มีการยื่นเอกสารอย่างครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินชดเชยค่าเสียจากกรณีรถล้มครั้งนี้ภายใน 7 วัน

 

รถล้มเองเบิก พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

รถล้มเองเบิก พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เพื่อให้คุณได้รับค่าชดเชยตามสิทธิที่ควรจะได้รับ เตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อยื่นดำเนินการตามกรณีต่าง ๆ ภายใน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดเหตุ ดังนี้

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล

เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำหรับชาวต่างชาติสามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัยแทนได้เช่นกัน)
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ย้ำว่าต้องเป็นฉบับจริงเท่านั้น)

กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย ได้เช่นเดียวกับกรณีการเบิกค่ารักษาพยาบาล

สำหรับกรณีเบิกค่าสินไหมทดแทน เมื่อสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร มีเอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำหรับชาวต่างชาติสามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัยแทนได้ เช่นเดียวกับกรณีการเบิกค่ารักษาพยาบาล)
  • ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองคนพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือสามารถใช้หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์แทนได้เช่นกัน

กรณีเสียชีวิต

กรณีเสียชีวิต

เอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรม และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

นอกจากนี้หากค่ารักษาพยาบาลนั้นเกินวงเงิน ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ ยังมีหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือสิทธิบัตรทอง สำหรับผู้ที่ทำ ประกันอุบัติเหตุ ไว้ก็ยังมีสิทธิส่วนนี้ในการเบิกค่ารักษาหรือค่าเสียหายเพิ่มเติมได้อีกด้วยครับ

 

สรุป รถล้มเองเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่?

ดังนั้น รถล้มเองเบิกพ.ร.บ.ได้อย่างแน่นอน พ.ร.บ. รถจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ทุกคันจะต้องมี เพราะจะช่วยคุ้มคุ้มครองผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุได้ทุกกรณี รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือ ขาดต่อพ.ร.บ. เป็นการกระทำผิดกฏหมาย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบเข้า ก็จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท เลยทีเดียว ประกันติดโล่แนะนำให้ผู้ขับขี่ทุกท่านไม่ลืมที่จะต่ออายุ พ.ร.บ.ของรถทุกคัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพราะถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ โทษปรับที่ต้องเสียนั้นไม่คุ้มกับค่าต่ออายุ พ.ร.บ. แน่นอน

และเพื่อความสบายใจในการใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้น การทำประกันรถมอเตอร์ไซค์จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรให้ความสำคัญ สำหรับใครที่ทำประกันรถอยู่แล้ว ก็อย่าลืมวางแผนต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้าเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองแบบต่อเนื่องด้วยนะครับ

หรือถ้าคุณต้องการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน “ประกันติดโล่” จัดการได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาที รถของคุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือของคุณ ตามลิงก์นี้เลยครับ


 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คปภ.



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    231,991
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    129,154
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    128,545