ประมาทร่วมคืออะไร? เราผิด หรือคู่กรณีผิด ใครต้องรับผิดชอบ

อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความสับสนและคำถามมากมาย โดยเฉพาะในกรณีที่เรียกว่า “ประมาทร่วม” ที่มีทั้งการประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม การประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงความหมายและวิธีการรับมืออย่างถูกต้อง ในบทความนี้ จะช่วยไขข้อข้องใจทั้งหมดเกี่ยวกับประมาท ร่วมกับคู่กรณี พร้อมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ขับขี่ทุกคน มาดูกันดีกว่า

ประมาทร่วมคืออะไร?

การประมาทร่วม เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงสถานการณ์ที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น และคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีส่วนในการกระทำความผิดหรือประมาทร่วมกัน ที่ทำให้รถของทั้งคู่เกิดความเสียหายขึ้น โดยไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิด ซึ่งในทางกฎหมาย การประมาทร่วม ตามกฎหมายถูกนิยามว่าเป็นการกระทำที่ “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” ซึ่งหมายความว่าทั้งสองฝ่ายต้องมีส่วนรับผิดชอบในการเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ เท่าๆ กัน

รวมการประมาทร่วมทุกกรณี

ประมาทร่วม

การประมาทร่วมกับอีกฝ่าย สามารถแบ่งออกได้หลายกรณีด้วยกัน ซึ่งแต่ละกรณีก็จะมีความผิด และการได้รับโทษทางกฎหมายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าถูกตั้งข้อหาประมาทร่วม ค่าปรับ หรือค่าชดเชยจะต้องเสียเท่าไหร่ มีรายละเอียดดังนี้

กรณีอีกฝ่ายไม่ยอม

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอมรับว่าตนมีส่วนผิด ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที พร้อมรวบรวมหลักฐาน เช่น ภาพถ่าย วิดีโอจากกล้องติดรถยนต์ หรือพยานในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้พิจารณาและตัดสินว่าเป็นการประมาทร่วมหรือไม่ ถ้ายืนยันว่าเป็นการประมาทร่วม ตามกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

กรณีอีกฝ่ายได้รับบาดเจ็บ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุประมาทร่วมและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด นอกจากนี้ ถ้ามีประกันภัยรถยนต์ ก็อาจได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเงื่อนไขกรมธรรม์

กรณีอีกฝ่ายได้รับบาดเจ็บสาหัส

ในกรณีที่อีกฝ่ายได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุ นอกจากจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. แล้ว ยังอาจได้รับค่าชดเชยเพิ่มเติมในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ ถ้ามีประกันภัยรถยนต์ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ซึ่งอาจครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

กรณีอีกฝ่ายเสียชีวิต

หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตในอุบัติเหตุ แม้ว่าจะเป็นการประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต แต่ทายาทของผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. จำนวน 35,000 บาท สำหรับความคุ้มครองเพิ่มเติมนั้นขึ้นอยู่กับประกันภัยรถยนต์ และประกันชีวิตอื่นๆ ที่ผู้เสียชีวิตได้ทำไว้ ในกรณีนี้ อาจมีการดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

กรณีอีกฝ่ายไม่มีประกัน

ในสถานการณ์ที่เกิดอุบัติเหตุประมาทร่วม และพบว่าคู่กรณีไม่มีประกันภัยรถยนต์ ผู้ที่ไม่มีประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเนื่องจากไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ดังนั้นการทำประกันภัยรถยนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดภาระทางการเงินเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้

วิธีรับมือ หากประมาทร่วม แต่คู่กรณีไม่ยอม

วิธีรับมือกรณีประมาทร่วม

ถ้าเกิดอุบัติเหตุที่คาดว่าเป็นมีความผิดร่วมกัน การประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม วิธีที่คุณควรจะทำ มีดังนี้

  1. ตั้งสติ : อย่าโต้เถียงหรือทะเลาะกับคู่กรณี เพราะอาจทำให้สถานการณ์แย่ลง
  2. แจ้งตำรวจทันที : ให้เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางในการตัดสินว่าใครผิด และบันทึกเหตุการณ์
  3. รวบรวมหลักฐาน : ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายของรถทั้งสองฝ่าย
  4. หาพยาน : สอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือเห็นเหตุการณ์ และขอข้อมูลติดต่อไว้
  5. เช็กกล้องวงจรปิด : หากมีกล้องวงจรปิดในบริเวณที่เกิดเหตุ ให้แจ้งตำรวจเพื่อขอดูภาพ
  6. บันทึกข้อมูลคู่กรณี : จดทะเบียนรถ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลประกันของอีกฝ่าย
  7. แจ้งบริษัทประกัน : ติดต่อบริษัทประกันของคุณทันที เพื่อแจ้งเหตุและขอคำแนะนำ
  8. ไม่ยอมรับผิดในทันที : แม้คุณจะคิดว่าตัวเองมีส่วนผิด แต่อย่าเพิ่งยอมรับผิดทันที ให้รอการพิสูจน์หลักฐานก่อน
  9. ไกล่เกลี่ย : ถ้าตำรวจเสนอให้มีการไกล่เกลี่ย ให้พิจารณาอย่างรอบคอบและปรึกษาบริษัทประกันก่อนตัดสินใจ
  10. เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย : คุณควรเตรียมหลักฐานทั้งหมดให้พร้อม เพราะหากไม่สามารถตกลงกันได้ อาจต้องดำเนินการทางกฎหมาย 

เมื่อถูกตัดสินว่ามีความผิดร่วมกัน ประกันจะจ่ายไหม?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุและถูกตัดสินว่าเป็นกรณีประมาท ร่วมกับคู่กรณี ทั้งการประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส หรือแบบไหนๆ ก็ตาม หลายคนอาจสงสัยว่าประกันที่ทำไว้จะให้ความคุ้มครองหรือไม่ มาดูกัน

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : จะให้ความคุ้มครองแม้ในกรณีประมาทร่วม โดยจะจ่ายค่าซ่อมรถของคุณ และค่ารักษาพยาบาลตามเงื่อนไขกรมธรรม์
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ : จะคุ้มครองค่าเสียหายของรถคุณในกรณีชน รวมถึงค่ารักษาพยาบาลตามที่ระบุในกรมธรรม์
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 3 : ไม่คุ้มครองในกรณีมีความผิดร่วมกัน ทั้งค่าซ่อมรถของคุณและคู่กรณี
  • ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) : จะให้ความคุ้มครองเบื้องต้นสำหรับค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยไม่คำนึงว่าคำตัดสินออกมาแบบใด

สรุป เมื่อมีการประมาทร่วม ใครกันแน่ที่ผิด

สำหรับใครที่สงสัยว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ เราหรือคู่กรณีกันแน่ที่มีความผิดเมื่อได้รับการตัดสินว่ามีการประมาทร่วม ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสองฝ่ายมีส่วนผิดด้วยกันทั้งคู่ ไม่มีใครผิดหรือถูกแต่เพียงฝ่ายเดียว และในหลายกรณีอาจถูกพิจารณาว่าให้เป็นการประมาทร่วม ตามกฎหมาย และต้องรับผิดชอบร่วมกันคือฝ่ายละ 50% 

ยังไงก็ตาม การตัดสินว่าเป็นอุบัติเหตุครั้งนี้มีประมาทร่วมกัน อาจไม่ได้หมายความว่าจะจบลงด้วยการแบ่งความรับผิดชอบเท่ากันเสมอไป เพราะในบางกรณี ผู้ตัดสินอาจมีการพิจารณาถึงระดับความประมาทของแต่ละฝ่าย และกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น 60:40 หรือ 70:30 ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่แต่ละฝ่ายมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของบริษัทประกัน ฉะนั้นเราแนะนำให้คุณทำประกันรถยนต์ทุกปี หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เจ้าหน้าที่ประกันจะเป็นคนค่อยมาเคลียร์และพูดคุยหารือกับอีกฝ่ายและรักษาผลประโยชน์ของคุณไว้ให้มากที่สุด



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    229,302
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    122,168
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    121,629