ขับรถรับจ้างด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล แล้วรถชน ประกันจ่ายไหม
เคยสงสัยกันไหมครับว่า ถ้าอยู่มาวันหนึ่งผันตัวไปเป็นคนขับรถรับจ้าง ในแอปพลิเคชันเรียกรถ แล้วเกิดเหตุการณ์ที่ว่าขับรถยนต์ส่วนบุคคลไปชนคันอื่นในขณะที่สวมบทเป็นคนขับรถรับจ้าง แล้วแบบนี้ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองอยู่ไหม ผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์หรือไม่ ประกันติดโล่อยากชวนมาหาคำตอบด้วยกันครับ
รถป้ายเหลือง กับ รถป้ายขาว ต่างกันอย่างไร?
ถ้าลองสังเกตให้ดีจะพบว่าบนถนนใหญ่ หรือขับรถถนนในซอย ต่างก็มีรถหลายคันที่ใช้สีป้ายทะเบียนรถยนต์ต่างกัน บ้างก็เป็นรถป้ายเหลือง บ้างก็เป็นรถป้ายขาว ซึ่งป้ายทะเบียนรถยนต์หลากสี กำลังบ่งบอกสถานะว่ารถแต่ละคนคือรถใช้งานประเภทไหน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ง่ายต่อการจำแนกประเภทรถ
รถป้ายเหลือง คืออะไร?
รถป้ายเหลือง คือ ป้ายทะเบียนรถรับจ้าง ที่สามารถใช้รับส่งผู้โดยสารได้อย่างถูกประเภทการใช้งาน โดยที่เห็นบ่อยๆ คือ รถป้ายเหลือง ตัวอักษรสีดำ ใช้ได้ทั้งรถยนต์รับจ้าง และรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่ใช้โดยสารไม่เกิน 7 คน หรือที่เห็นได้ชัดๆ คือ รถแท็กซี่
รถป้ายขาว คืออะไร
รถป้ายขาว คือ ป้ายทะเบียนรถส่วนตัวที่ไม่ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่มีลักษณะเป็นป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถยนต์ทั่วไปที่ไม่ใช่รถบรรทุก ซึ่งป้ายทะเบียนรถสีขาว ไม่ควรนำไปใช้รับส่งผู้โดยสารเพราะถือว่าเป็นการใช้งานแบบผิดประเภท
ประกันรถคุ้มครองไหม ถ้าใช้รถยนต์ส่วนบุคคล มาขับรถรับจ้าง
ขอย้ำเตือนก่อนครับว่า ประกันรถยนต์มีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ประกันรถชั้น 1 ประกันรถชั้น 2+ และ ประกันรถชั้น 3+
ซึ่งประกันรถยนต์จะทำหน้าที่คุ้มครองความเสี่ยงให้กับผู้เอาประกันรถยนต์อยู่แล้ว แต่ในกรณีที่นำรถยนต์ส่วนบุคคล ป้ายทะเบียนสีขาวมาขับรถรับจ้าง แล้วเกิดอุบัติเหตุ ความคุ้มครองสามารถแจกแจงได้ คือ
-
ขับรถรับจ้าง พ.ร.บ.รถยนต์ ความคุ้มครองไหม?
หากนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปขับรถรับจ้าง แล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันสามารถใช้สิทธิ์ความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ภาคบังคับได้เลยครับ โดยจะได้รับเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
-
ขับรถรับจ้าง ประกันรถภาคสมัครใจ คุ้มครองไหม?
-
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่จ่ายค่าซ่อม
ประกันรถยนใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ไปขับรถรับจ้าง ประกันรถยนต์ไม่คุ้มครองครับ คุณต้องจ่ายค่าซ่อมรถเอง โดยคำตอบนี้เกิดขึ้นจาก เงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรธรรม์ประกันรถยนต์ ข้อที่ 9.2 ว่า
การใช้รถยนต์นอกเหนือจากที่ระบุเอาไว้ในตารางขณะเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งในตารางกรมธรรม์ประกันภัยก็ระบุไว้ด้วยว่า การใช้รถยนต์ต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่ใช่รถรับจ้างหรือให้เช่า
แต่ถ้านำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ถูกประเภท ประกันรถยนต์ยังให้ความคุ้มครองเหมือนเดิมครับ เพราะการนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้เป็นรถรับจ้าง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเป็นเท่าตัว
-
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คุ้มครองคู่กรณี
แม้ว่า ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ จะไม่คุ้มครองในส่วนของค่าซ่อมรถ แต่ยังคงให้ความคุ้มครองแก่คู่กรณีทั้งร่างกายและทรัพย์สิน
ในกรณีที่ใช้ประกันรถชั้น 1 ผู้เอาประกันต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกด้วย เนื่องจากทำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ผิดประเภทจากที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกจะเป็นเงิน 2,000 บาทต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับความเสียหายต่อบุคคลภายนอก และอีก 2,000 บาทเนื่องจากใช้รถยนต์ผิดประเภท
อ้างอิงจาก คปภ.
-
สรุป
ถ้านำรถยนต์ส่วนบุคคล มาใช้เป็นการขับรถรับจ้าง ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองเพราะถือว่าคุณนำรถยนต์ไปใช้ผิดประเภท แต่คุณยังสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ และใช้สิทธิ์คุ้มครองคู่กรณีด้วยการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก แต่ถ้าคุณเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแอปพลิเคชันเรียกรถแล้ว ทางบริษัทก็จะมีประกันรถเชิงพาณิชย์ให้กับคุณครับ