ประเภทรถบิ๊กไบค์ (Bigbike) ที่ได้รับความนิยมจากไบค์เกอร์

หลายคนอาจกำลังสับสนว่ารถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่แบบไหนบ้างที่เรียกว่า รถบิ๊กไบค์ (Bigbike) ประกันติดโล่ได้รวมประเภทรถบิ๊กไบค์ที่ได้รับความนิยม และพบได้บ่อยบนท้องถนนในประเทศไทย ให้คนที่กำลังวางแผนจะออกรถมอเตอร์ไซค์คันใหม่นำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจซื้อ และเลือกประเภทรถที่เหมาะกับความต้องการในการใช้งาน เช่น เน้นความเร็ว เน้นขับขี่ในเมือง หรือเน้นขับขี่ทางไกล

รถบิ๊กไบค์ (Bigbike) คือกี่ CC ตามกฎหมายจราจร 

รถบิ๊กไบค์ (Bigbike) คือ รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ (kW) ขึ้นไป (47 แรงม้าขึ้นไป)หรือมีความจุของกระบอกสูบตั้งแต่ 400 cc ขึ้นไป จึงเป็นรถจักรยานยนต์ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะการขับขี่สูง โดยกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ขับรถบิ๊กไบค์ต้องมีใบขับขี่บิ๊กไบค์โดยเฉพาะ หลักเกณฑ์ในการขอใบขับขี่บิ๊กไบค์ มีดังนี้

  • ผู้ขับขี่ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
  • มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี (หมายเหตุ ผู้ที่มีใบขับขี่รถมอเตอร์ไซต์แบบตลอดชีพจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปทำใบขับขี่บิ๊กไบค์)
  • ผ่านการฝึกอบรมการขับขี่เฉพาะ ตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งกำหนด
  • ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ หรือการขับทดสอบในสนามจริง

4 ประเภทรถบิ๊กไบค์ (Bigbike) ที่ได้รับความนิยม

4 ประเภทรถบิ๊กไบค์ (Bigbike) ที่ได้รับความนิยม

รถบิ๊กไบค์ (Bigbike) มีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทออกแบบมาตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ประสบการณ์การขับขี่ และความชอบส่วนตัวของแต่ละคน โดยประเภทที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย มีดังนี้

1. สปอร์ตไบค์ (Sport Bike)

สปอร์ตไบค์ (Sport Bike)

สปอร์ตไบค์ (Sport Bike) เป็นประเภทรถบิ๊กไบค์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะตอบโจทย์ทั้งประสบการณ์การขับขี่และดีไซน์สุดเท่ ด้วยเครื่องยนต์ที่ทรงพลังและรอบสูง ทำให้มีอัตราเร่งเร็ว ถือเป็นประเภทรถบิ๊กไบค์ที่มีสมรรถนะสูงกว่าประเภทอื่น แต่สปอร์ตไบค์ก็มาพร้อมระบบเบรกประสิทธิภาพสูงด้วยเช่นกัน เพื่อให้คุณมั่นใจเรื่องความปลอดภัยว่ารถจะมีกำลังหยุดที่รวดเร็ว

การออกแบบจะเน้นเรื่องความคล่องตัวระหว่างการขับขี่ แฮนด์จับต่ำ และท่านั่งที่ก้มไปข้างหน้า ช่วยลดแรงต้านของอากาศ ช่วยเรื่องการควบคุมรถได้ดีขึ้น ผู้ขับจึงสามารถใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะในทางตรงหรือทางโค้ง ติดตั้งแฟริ่งแบบเต็ม ครอบคลุมเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่น ๆ ช่วยบังผู้ขับจากลมที่พุ่งปะทะด้วยความเร็วสูง รถบิ๊กไบค์ประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ขับที่มีประสบการณ์มากกว่า

2. เน็กเก็ตไบค์ (Naked Bike)

เน็กเก็ตไบค์ (Naked Bike)

สำหรับใครที่ชื่นชอบสไตลสปอร์ตไบค์แต่อาจกังวลเรื่องการขับขี่ในเมือง ประกันติดโล่ขอแนะนำเน็กเก็ตไบค์ (Naked Bike) ที่มีความคล้ายกันแต่สมรรถนะของตัวรถจะลดลงมา มีเครื่องยนต์ที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกสถานการณ์การขับขี่ มีอัตราเร่งรวดเร็วโดยไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์รอบสูง เหมาะกับการขับขี่ในเมืองที่ต้องเร่งแซงบ่อย ๆ เน้นการขับขี่ที่คล่องตัว ควบคุมง่าย ตอบสนองต่อคันเร่งได้ดี จึงเหมาะกับการขับขี่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น 

เน็กเก็ตไบค์เป็นรถบิ๊กไบค์ประเภทสปอร์ตที่ไม่มีแฟริ่งกันลมด้านหน้า ตัวแฮนด์จับจะสูงขึ้นและมีความกว้างกว่า ช่วยให้ควบคุมรถได้ดีขึ้นเมื่อใช้ความเร็วต่ำ มีตำแหน่งการขับขี่ในท่านั่งที่สบายกว่าเมื่อเทียบกับสปอร์ตไบค์ รถบิ๊กไบค์ประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ขับทั้งมือใหม่และผู้มีประสบการณ์

3. ทัวร์ริ่งไบค์ (Touring Bike)

ทัวร์ริ่งไบค์ (Touring Bike)

ทัวร์ริ่งไบค์ (Touring Bike) มักมีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อให้มีแรงบิดเพียงพอสำหรับการขับขี่ทางไกล  และการขนสัมภาระด้วย แรงบิดสม่ำเสมอตลอดช่วงรอบเครื่องยนต์ ช่วยรักษาความเร็วโดยไม่ต้องเร่งหรือเค้นเครื่องยนต์มากนัก โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถขึ้นเขา ขึ้นทางชัน ทัวร์ริ่งไบค์จึงเน้นเรื่องความสบายในการขับขี่ ควบคุมง่าย ประหยัดน้ำมัน ตอบโจทย์การออกทริปทางไกลมากกว่าการขับขี่แบบสปอร์ต

ทัวร์ริ่งไบค์ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การออกทริปมอเตอร์ไซค์มากที่สุด เพื่อลดความเมื่อยล้าของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ที่นั่งจึงเน้นความสะดวกสบาย มีพนักพิงหรือเบาะรองรับบริเวณเอว ตัวแฮนด์จับจะสูงพอดีโดยไม่ต้องก้มตัวเวลาขับ มีที่เก็บสัมภาระเพียงพอ มีระบบกันสะเทือนเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกและสภาพถนนต่าง ๆ สร้างประสบการณ์การขับขี่ที่ราบรื่นตลอดการเดินทาง

4. ครุยเซอร์ (Cruiser)

ครุยเซอร์ (Cruiser)

ครุยเซอร์ (Cruiser) หรือที่หลายคนเรียกว่า รถชอปเปอร์ (Chopper) จริง ๆ แล้วรถชอปเปอร์เป็นหนึ่งในประเภทรถบิ๊กไบค์ที่ดัดแปลงมาจากครุยเซอร์อีกที เหมาะกับการขับขี่ทางไกลเหมือนกันแต่ด้วยความยาวของรถชอปเปอร์ทำให้ควบคุมรถได้ยากกว่า เครื่องยนต์ครุยเซอร์จะเน้นเรื่องแรงบิดมากกว่าแรงม้า เหมาะสำหรับการขับขี่ที่ความเร็วต่ำ ระบบไอเสียออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงบิด และเครื่องยนต์ 2 สูบแบบ V ที่มีการจุดระเบิดพร้อมกันทั้ง 2 สูบ ทำให้รถบิ๊กไบค์ประเภทนี้มีเสียงดังกระหึ่มเป็นเอกลักษณ์

ครุยเซอร์นอกจากจะโดดเด่นเรื่องความสวยงามสุดคลาสสิก ยังออกแบบมาให้ตอบโจทย์การออกทริปทางไกลด้วย แต่ความสะดวกสบายอาจไม่เท่ากับทัวร์ริ่งไบค์ ตำแหน่งที่นั่งอยู่ต่ำกว่าตัวแฮนด์จับ ช่วยให้ผู้ขับวางเท้าราบกับพื้นได้ง่ายเมื่อจะหยุดรถ และระยะฐานล้อที่ยาวมีส่วนช่วยให้ควบคุมรถได้ง่ายขึ้น ขับขี่สบาย และมีสไตล์ที่โดดเด่น

สรุป เลือกประเภทรถบิ๊กไบค์ให้ตอบโจทย์การใช้งาน

จากสถิติข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยแต่ละปี รถมอเตอร์ไซค์ยังคงเป็นประเภทรถที่เกิดอุบัติสูงสุด การเลือกประเภทรถบิ๊กไบค์ให้เหมาะกับประสบการณ์และสไตล์การขับขี่ของตัวเอง มีส่วนช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ประกันติดโล่แนะนำให้ทดลองขับก่อนตัดสินใจซื้อ และอย่าลืมเพิ่มความสบายใจตลอดการขับขี่ ไม่ว่าจะขับในเมืองหรือออกทริปทางไกลด้วยประกันรถมอเตอร์ไซค์ พร้อมให้คุ้มครองครอบคลุมทั้งรถและคุณ ค่าเบี้ยเบา ๆ และมีแผนประกันให้เลือกได้ตามที่ต้องการ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    151,325
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    30,598
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    25,650