ทำความรู้จักรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้

4,231

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นด้วยการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ ส่วนใหญ่มักมาจากการใช้รถยนต์เครื่องยนต์แบบสันดาป รถปลั๊กอินไฮบริดคืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากได้รถประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็แอบมีความกังวลที่จะเลือกใช้รถไฟฟ้า EV ซึ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดใช้น้ำมันน้อยกว่ารถทั่วไปถึง 30-60% จึงช่วยประหยัดน้ำมันได้เป็นอย่างดี และไม่ส่งผลต่อสมรรถนะในการขับขี่ด้วย มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ข้อดี ข้อเสียที่น่าสนใจของรถประเภทนี้กันครับ

 

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดคืออะไร?

หลายคนอาจคุ้นกับคำว่ารถ PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) หรือรถปลั๊กอินไฮบริด คือ รถยนต์ไฮบริด EV ประเภทหนึ่งที่ทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาปแบบเดิมกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนรถยนต์ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอินจึงสามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ ด้วยการเสียบปลั๊กรถยนต์เข้ากับเต้ารับไฟฟ้าที่บ้านหรือสถานีชาร์จ และยังมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ซึ่งมีความแตกต่างจากรถยนต์ไฮบริดทั่วไป (Hybrid electric vehicle: HEV) รถไฮบริดกับปลั๊กอินไฮบริดจึงมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดคืออะไร?

สำหรับการทำงานของรถ PHEV ผู้ขับขี่สามารถเลือกวิธีการทำงานได้เลยว่า จะใช้เครื่องยนต์ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า (ระบบไฮบริด) หรือจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะมีหลักการทำงานเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าเลย จึงมีความยืดหยุ่นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดการใช้เชื้อเพลิงโดยรวมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ต่างกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไร?

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดกับรถยนต์ไฟฟ้า มีความแตกต่างกันหลัก ๆ ในเรื่องของแหล่งพลังงานและวิธีการทำงานของรถ โดยรถ PHEV มีทั้งเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า ผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้เพียงโหมดไฟฟ้า หรือเลือกใช้งานเป็นระบบไฮบริดให้ทำงานร่วมกันเลยก็ได้ แต่รถยนต์ไฟฟ้าจะพึ่งพามอเตอร์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ความจุสูงโดยเฉพาะเป็นหลักเท่านั้น และระยะทางจะถูกจำกัดด้วยความจุของแบตเตอรี่ของรถแต่ละรุ่น แต่เนื่องจากรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเป็นการผสานการทำงานร่วมกันของเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า จึงมีระยะทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้งน้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้า แต่หากไฟฟ้าหมดลงก็ยังสามารถขับต่อไปได้ด้วยเครื่องยนต์สันดาป

 

ข้อดี-ข้อเสีย รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด

ข้อดี-ข้อเสีย รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่ประกันติดโล่สรุปมาให้ อาจช่วยประกอบการตัดสินใจสำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังวางแผนจะซื้อรถ PHEV แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับความชื่นชอบ ไลฟ์สไตล์การขับขี่ และความต้องการในการใช้งานของแต่ละคนเป็นหลักนะครับ

ข้อดี รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด

  • ปล่อยมลพิษน้อยลง

รถ PHEV ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงเมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อทำงานในโหมดไฟฟ้าทั้งหมดที่จะไม่มีการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียเลย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่กำลังมองหารถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • ความยืดหยุ่นและความคล่องตัว

หนึ่งในข้อได้เปรียบสำคัญของรถ PHEV คือ ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการเลือกใช้พลังงานขับเคลื่อนรถยนต์ ผู้ขับขี่สามารถสลับระหว่างโหมดไฟฟ้าหรือระบบไฮบริดได้อย่างที่ต้องการ จึงเหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้นและการเดินทางระยะไกล หมดกังวลเรื่องระยะขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

  • ระบบเบรกเพื่อชาร์จไฟ (Regenerative Braking)

เมื่อเหยียบเบรกหรือยกเท้าออกจากคันเร่ง มอเตอร์ไฟฟ้าจะเข้าสู่โหมดเจนเนอเรเตอร์ ซึ่งจะแปลงพลังงานจลน์ของรถที่กำลังเคลื่อนที่เป็นพลังงานไฟฟ้า จากนั้นกระแสไฟฟ้านี้จะกลับเข้าไปในแบตเตอรี่ของรถยนต์เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ จึงช่วยขยายระยะการขับขี่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ประหยัดต้นทุน

รถ PHEV ประหยัดต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่ารถเครื่องยนต์สันดาป โดยเฉพาะเมื่อเลือกใช้งานด้วยโหมดไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้รถใช้ถนนทุกวันหรือการเดินทางระยะสั้น อีกทั้งรถ PHEV มีการบำรุงรักษาโดยรวมที่น้อยกว่า จึงช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ได้อีกด้วย

ข้อเสีย รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด

  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ถึงแม้ว่ารถ PHEV จะปล่อยมลพิษหรือก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ เพราะในบางช่วงเวลาอาจมีความจำเป็นต้องใช้โหมดน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยนั่นเอง

  • ระยะการขับขี่

เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ระยะการขับขี่ของรถ PHEV จะน้อยกว่าด้วยข้อจำกัดความจุของแบตเตอรี่ หากต้องการใช้งานโหมดไฟฟ้ากับการเดินทางไกล รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบหรือรถ EV อาจตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า

  • ราคาขายเริ่มต้นค่อนข้างสูง

รถ PHEV มักมีราคาเริ่มต้นสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป เนื่องจากต้นทุนของส่วนประกอบรถไฮบริดและแบตเตอรี่ หากต้องการขายต่อ มูลค่าการขายต่ออาจลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันตลาดรถยนต์มีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่และนวัตกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ประกันติดโล่ข้อแนะนำ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นยอดฮิต


  1. MG HS PHEV
    ราคาเริ่มต้น 1,299,000 บาท
    ระยะทางวิ่งโหมดไฟฟ้า 67 กม./ซาร์จ
  2. Haval H6 PHEV
    ราคาเริ่มต้น 1,699,000 บาท
    ระยะทางวิ่งโหมดไฟฟ้า 201 กม./ซาร์จ
  3. Mitsubishi Outlander PHEV
    ราคาเริ่มต้น 1,640,000 บาท
    ระยะทางวิ่งโหมดไฟฟ้า 55 กม./ซาร์จ

 

สรุป รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดหรือรถ PHEV

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดหรือรถ PHEV กับรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานหรือวิธีการทำงานของรถ ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของแต่ละคนเป็นหลัก แต่ก็ต้องยอมรับว่ารถ PHEV มีจุดเด่นเรื่องความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถทำงานได้ทั้งโหมดไฟฟ้าและน้ำมันเบนซิน ซึ่งตอบโจทย์คนที่มีความกังวลในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความสบายใจในการขับขี่รถทุกประเภทได้เลยก็คือ ประกันรถยนต์โดยเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 พร้อมให้ความคุ้มครองแบบจัดเต็ม หมดกังวลตลอดการขับขี่ได้อย่างแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: CHOBROD



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    165,195
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    32,793
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    27,390