เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนทำใบอนุญาตขับขี่สากลที่ขนส่ง

1,385

ผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่สากลส่วนใหญ่ มักเป็นผู้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อติดต่อธุรกิจ ทำงาน ศึกษาต่อ ท่องเที่ยวด้วยตัวเอง หรือมีความจำเป็นที่จะต้องขับรถในต่างประเทศ การเช่ารถขับเองอาจคุ้มค่า สะดวก และปลอดภัยมากกว่า ซึ่งใบขับขี่สากลถือเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการติดต่อขอเช่ารถในต่างประเทศ ใครที่กำลังวางแผนไปเที่ยวต่างประเทศและขึ้นเครื่องบินครั้งแรก อยากลองเช่ารถขับในต่างประเทศก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งการทำใบขับขี่สากล จะต้องทำก่อนการเดินทางไปยังประเทศนั้น ๆ ให้เรียบร้อย ประกันติดโล่จึงได้สรุปวิธีทำใบขับขี่สากล พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียมมาให้เรียบร้อยแล้วที่บทความนี้

ใบอนุญาตขับขี่สากลเป็นอย่างไร?

ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ (International Driving Permit หรือ IDP) ที่หลายคนเรียกว่า ใบขับขี่สากล คือ เอกสารที่ยอมรับให้บุคคลสามารถขับรถในประเทศตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน พ.ศ.2492 (Convention on Road Traffic, 1949) และบางประเทศแม้ไม่เป็นประเทศตามภาคีอนุสัญญา แต่ก็ยอมรับใบอนุญาตขับขี่สากล โดยคุณจำเป็นต้องใช้ใบขับขี่สากลร่วมกับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลจากประเทศไทย ในการแสดงแก่เจ้าหน้าที่ในแต่ละประเทศด้วย

ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ

โดยลักษณะของใบขับขี่สากลที่ออกโดยประเทศไทย มีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น มีลักษณะเป็นสมุดพกทำจากกระดาษแข็งสีขาว มีขนาดใหญ่กว่าหนังสือเดินทาง (Passport) เล็กน้อย แสดงภาพถ่ายผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่สากล

ใบขับขี่สากลใช้ได้กี่ประเทศ มีอายุกี่ปี?

ใบขับขี่สากลใช้ได้กี่ประเทศ มีอายุกี่ปี?

 

ปัจจุบันใบอนุญาตขับขี่สากลสามารถใช้ได้หลายประเทศมากยิ่งขึ้น แต่ใบขับขี่สากลใช้ได้กี่ประเทศขึ้นอยู่กับว่าเป็นประเทศที่เข้าร่วมภาคีอนุสัญญาแบบใด ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีอายุการใช้งานและประเทศที่สามารถใช้งานได้แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. ใบอนุญาตขับระหว่างประเทศ อนุสัญญาเจนีวา 1949 จะมีอายุ 1 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใช้ได้ใน 101 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, เบลเยี่ยม, บราซิล, แคนาดา, นิวซีแลนด์, อินเดีย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, มาเลเซีย, กัมพูชา, สิงคโปร์, ฮ่องกง เป็นต้น
  2. ใบอนุญาตขับระหว่างประเทศ อนุสัญญาเวียนนา 1968 จะมีอายุ 3 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใช้ได้ใน 84 ประเทศทั่วโลก เช่น บาห์เรน, อิหร่าน, ฮังการี, กรีซ, จอร์เจีย, ฟินแลนด์, บราซิล, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

สำหรับประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ สามารถใช้ใบขับขี่สากลที่ออกตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 เพียงฉบับเดียวได้ โดยจะครอบคลุม 84 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ตุรกี, สวีเดน, เวียดนาม รวมถึงประเทศไทยด้วย

ดูรายชื่อประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน พ.ศ.2492

ขั้นตอนการทำใบขับขี่สากล 2567

ปัจจุบันมีประชาชนที่ขอรับใบอนุญาตขับขี่สากลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิว และรองรับความต้องการของประชาชน กรมการขนส่งทางบกจึงเปิดให้จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ก่อนจะเดินทางไปดำเนินการต่อที่สำนักงานขนส่ง มีขั้นตอนดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue

IOS : DLT Smart Queue
Android : DLT Smart Queue

  1. เลือกสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 

พื้นที่ 1 บางขุนเทียน, พื้นที่ 2 ตลิ่งชัน, พื้นที่ 3 พระโขนง, พื้นที่ 4 หนองจอก, พื้นที่ 5 จตุจักร หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ต้องการ

  1. เลือกเมนูงานใบอนุญาต
  2. เลือกประเภทใบอนุญาตขับรถ ให้เลือก “ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล”
  3. เลือกประเภทเข้ารับบริการ ให้เลือก “ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ” 
  4. เลือกประเภทยานพาหนะ
  5. เลือกวันและเวลาที่ต้องการเข้าใช้บริการ
  6. เมื่อถึงคิวตามที่ได้จองไว้ในระบบ จะต้องเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งที่ได้เลือกไปข้างต้น
  7. เตรียมเอกสารทำใบขับขี่สากลให้ครบถ้วน
  8. ชำระค่าธรรมเนียมทำใบขับขี่สากล 505 บาท (ปิดรับชำระเงิน 15.30 น.)
  9. รอรับใบอนุญาตขับขี่สากล

ทำใบขับขี่สากลใช้เอกสารอะไรบ้าง?

  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบทะเบียนสมรส หรือใบหย่า
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริงพร้อมสำเนา (เล่มที่ใช้เดินทางและยังไม่หมดอายุ)
  • ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลตัวจริง ประเภท 5 ปี หรือตลอดชีพ 
  • รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีเข้ม และต้องถ่ายไม่เกิน 6 เดือน

กรณีไม่สะดวกไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ โดยจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

ไม่ต้องจองคิวก่อนไปทำใบขับขี่สากลได้หรือไม่ ประกันติดโล่สรุปให้


สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปทำใบอนุญาตขับขี่สากลด้วยตัวเอง หรือต้องการวอล์คอิน (Walk-in) โดยไม่ต้องจองคิวล่วงหน้านั้น สามารถทำได้เช่นกัน โดยสำนักงานขนส่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 1584

สรุป ใบอนุญาตขับขี่สากล

หลังจากได้รับใบอนุญาตขับขี่สากลเรียบร้อยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจรของประเทศนั้น ๆ ศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อการขับขี่ได้อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการทำผิดกฎจราจรจนต้องเสียค่าปรับ และไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์การขับขี่มากน้อยแค่ไหน อุบัติเหตุบนท้องถนนก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ การทำประกันภัยรถยนต์จะช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก: ไทยรัฐ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    146,898
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    29,877
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    24,904