เลือกประเภทถังดับเพลิงในรถยนต์ให้เหมาะสม ป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้

1,740

ไฟไหม้รถอาจเป็นอุบัติเหตุที่หลาย ๆ คนอาจมองว่าไกลตัว ในช่วงที่ผ่านมาก็มีเหตุไฟไหม้รถให้เห็นหลายเหตุการณ์ทีเดียว เพื่อความปลอดภัย จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการมี “ถังดับเพลิง” ติดรถเอาไว้

แต่ถังดับเพลิงก็มีให้เลือกติดตั้งหลายประเภท แถมยังมีขนาดใหญ่อีก แล้วแบบไหนถึงจะเหมาะสำหรับเอาไว้ใช้ในรถล่ะ ? บทความนี้จะช่วยให้คุณแนะนำให้คุณเลือกถังดับเพลิงที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ของคุณนั่นเอง

 

ประเภทของเพลิงไหม้ภายในรถ

ประเภทของเพลิงไหม้ภายในรถ

ก่อนจะเลือกซื้อถังดับเพลิงนั้นเราต้องมาดูก่อนว่าไฟประเภทไหนบ้างที่สามารถเกิดได้ในรถยนต์ ซึ่งไฟแต่ละประเภทนั้นต้องใช้เคมีในการดับไฟที่แตกต่างกัน จึงต้องศึกษาก่อนเพื่อที่จะเลือกซื้อถังดับเพลิงมาใช้ได้อย่างถูกต้อง

โดยเหตุเพลิงไหม้ที่สามารถเกิดในรถได้ มีดังนี้

  • เพลิงไหม้ประเภท A: เป็นเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง ซึ่งอาจติดไฟได้จากส่วนที่เป็นวัสดุของรถ เช่น เบาะรถยนต์

  • เพลิงไหม้ประเภท B: เป็นเพลิงที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเครื่อง แก๊สรถยนต์

  • เพลิงไหม้ประเภท C: เป็นเพลิงที่เกิดจากการขัดข้องของไฟฟ้า ซึ่งสามารถเกิดภายในรถได้จากการทำงานผิดพลาดของแบตเตอรี่

เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้อถังดับเพลิง จึงต้องเลือกถังประเภทที่คลอบคลุมไฟทั้ง 3 ประเภทนี้

 

การเลือกถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงนั้นมีหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันที่สารเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน โดยแต่ละประเภทมีความสามารถในการดับไฟและข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. แบบสเปรย์โฟม: รองรับการดับเพลิงประเภท A, B (แบบจำกัด)
    • ข้อดี: น้ำหนักเบา พกพาสะดวก 500 ml
    • ข้อเสีย: ดับไฟได้ไม่ทุกชนิด
  2. แบบผงเคมีแห้ง: รองรับการดับเพลิงประเภท A, B, C (แบบจำกัด)
    • ข้อดี: ราคาไม่สูงมาก สามารถดับไฟได้เร็วกว่าแบบสเปรย์โฟม
    • ข้อเสีย: เมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว แม้จะฉีดเคมีไม่หมดแต่แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งบรรจุใหม่
  3. แบบสารเหลวระเหย: รองรับการดับเพลิงประเภท A, B, C
    • ข้อดี: สามารถดับไฟได้ทุกประเภท ไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้ ใช้ไม่หมดนำมาใช้ซ้ำได้
    • ข้อเสีย: มีราคาค่อนข้างสูง
  4. แบบเคมีสูตรน้ำ: รองรับการดับเพลิงประเภท A, B, C
    • ข้อดี: สามารถดับไฟได้ทุกประเภท ดับไฟได้เร็ว พร้อมป้องกันไฟลุกขึ้นมาติดอีก ใช้ไม่หมดนำมาใช้ซ้ำได้
    • ข้อเสีย: มีราคาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ

เมื่อเทียบข้อดีและข้อเสียของถังดับเพลิงทั้ง 4 ประเภทนี้แล้ว เราจะแนะนำ “แบบเคมีสูตรน้ำ” ซึ่งมีราคาที่ไม่แพงมาก และรองรับไฟทุกประเภท

 

การติดตั้ง

หลาย ๆ คนมักเลือกที่จะติดตั้งถังดับเพลิงขนาดใหญ่ไว้ในฝากระโปรงหลัง เพื่อที่จะไม่กินเนื้อที่ภายในห้องโดยสาร แต่ว่า ! เราไม่แนะนำให้ทำอย่างนั้น เพราะบ่อยครั้งที่เพลิงมักจะลุกไหม้มาจากทางด้านหลังในรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส ทำให้เราไม่สามารถนำถังดับเพลิงมาใช้ได้

โดยการติดตั้งถังดับเพลิงที่ดี เราจะแนะนำให้ติดตั้งที่ 2 บริเวณนี้ครับ

  1. ภายในห้องโดยสาร: แนะนำให้ติดตั้ง ถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณเบาะหน้าใกล้คนขับ และบริเวณเบาะหลัง
  2. ภายในฝากระโปรงหลัง: แนะนำให้ติดตั้ง ถังดับเพลิงขนาด 15 ปอนด์ (สามารถเล็กกว่านี้ได้หากกระโปรงหลังมีพื้นที่น้อย) ซึ่งจะช่วยรองรับการติดไฟขนาดใหญ่ได้

การติดตั้งถังดับเพลิง

 

อุปกรณ์ช่วยยามฉุกเฉิน

  1. ค้อนนิรภัย

    ในกรณีที่เหตุไฟไหม้เกิดมากจากแบตเตอรี่ อาจทำให้ระบบไฟฟ้าภายในรถไม่ทำงาน มีโอกาสที่จะทำให้ เปิดประตูรถไม่ได้ และ ไม่สามารถปลดเข็มขัดนิรภัยได้ ซึ่งจะทำให้เราหนีไม่ทัน และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

    อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เราอยากให้ทุกท่านมีติดรถไว้ก็คือ “ค้อนนิรภัย” โดยเจ้าค้อนนี้สามารถทำได้ทั้งทุบกระจก และตัดเข็มขัดนิรภัยในยามฉุกเฉิน จึงเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินแบนี้

  2. หน้ากากกรองอากาศ

    แม้จะมีอุปกรณ์ดับเพลิงแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเดินเข้าไปดับเพลิงได้ในทันทีเลยนะครับ เพราะควันที่ออกมาจากไฟนั้นก็มีอันตรายไม่แพ้กัน เพียงแค่สูดเข้าไปไม่กี่ครั้งก็อาจทำให้หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ไออย่างรุนแรง หากสูดเข้าไปนาน ๆ เข้า อาจถึงขั้นหมดสติได้

    เพราะฉะนั้น คุณจึงควรมี “หน้ากากกรองอากาศ” แบบที่สามารถป้องกันควันไฟกันได้เอาไว้อย่างน้อย 2 ชิ้น เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้ไม่สามารถออกจากรถได้จะช่วยให้คุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  3. รวมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน

    อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้เลยคือ “เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน” ที่ติดต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นให้รีบโทรแจ้งไปยังเบอร์โทรฯ เหล่านี้ทันที

    โดยเราได้รวมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่ควรมียามเกิดเหตุไฟไหม้ให้แล้ว สามารถดูได้ดังนี้เลยครับ

    • 191 – แจ้งเหตุด่วน / เหตุร้ายทุกชนิด
    • 199 – แจ้งเหตุไฟไหม้ / ดับเพลิง
    • 1669 – หน่วยฉุกเฉิน (ทั่วประเทศ)
    • 1646 – หน่วยฉุกเฉิน (กทม.)

 

สรุป

สิ่งสำคัญคือคุณต้องหมั่นตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งานและคอยสังเกตความผิดปกติของรถ แม้จะมีอุปกรณ์สำหรับดับไฟติดรถไว้ แต่ก็ช่วยระงับเหตุได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้นั้นแน่นอนว่ารถจะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก แต่หากคุณมีประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองไฟไหม้รถด้วยก็สามารถช่วยแบ่งเบาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้

หากคุณต้องการมองหาประกันภัยที่คุ้มครองเหตุเพลิงไหม้ในรถ ลองปรึกษาประกันติดโล่ดูสิครับ เรามีประกันให้คุณเลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับเจ้าอื่น ๆ ได้ สามารถดูได้ที่ ประกันกับประกันติดโล่ หรือสอบถามประกันติดโล่ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ พวกเรายินดีให้บริการครับ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    188,245
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย
    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้
    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    35,575
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?
    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    31,767