พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 1 เดือน เสียค่าปรับเท่าไหร่ ขอเคลมประกันได้ไหม

พ.ร.บ. รถยนต์ขาด
7,401

ทุกคนรู้ดีว่ากฎหมายจราจรบังคับให้รถยนต์ทุกคันมี พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะสิ่งนี้คือความคุ้มครองที่ผู้ใช้รถใช้ถนนจะได้รับเมื่อขับรถชนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ไม่ว่าจะคุ้มครองผู้เอาประกัน คู่กรณี หรือบุคคลรอบข้างที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ แต่บางคนก็หลงลืมวันเวลานอกจากจะปล่อยให้ใบขับขี่หมดอายุ ประกันรถยนต์หมดอายุ ยังปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดอีกด้วย เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว มาทำความเข้าใจความสำคัญของการต่อ พ.ร.บ. กันอีกครั้ง ถ้า พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 1 เดือน เสียค่าปรับเท่าไหร่ ขาดได้ไม่เกินกี่วัน หรือกี่ปี ถ้า พ.ร.บ. ขาดรถชนจะเกิดอะไรขึ้น

ทวนความจำ! พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. คุ้มครอง

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือชื่อเต็ม ๆ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เปรียบเสมือนหลักประกันของรถทุกคันยามที่ประสบเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รถที่มี พ.ร.บ. รถยนต์ได้รับความคุ้มครองจากอุบัติเหตุ รวมถึงเงินค่ารักษาพยาบาล แม้ว่าจะไม่ได้ทำประกันรูปแบบอื่น ๆ เอาไว้ก็ตาม แต่สุดท้ายแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ ยังคุ้มครอง ซึ่งความคุ้มครองที่จะได้รับหลังจากซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ความคุ้มครอง คือ

ค่าเสียหายเบื้องต้น (คุ้มครองโดยไม่สนว่าถูกหรือผิด) จาก พ.ร.บ. รถยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท

ค่าเสียหายหลังจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จาก พ.ร.บ. รถยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท
  • ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยนอก – OPD) 

สรุปรวมแล้วค่าเสียหายทั้งหมดที่สามารถชดเชยให้ได้จะไม่เกิน 304,000 บาท

พ.ร.บ. ขาดปรับเท่าไหร่ 2568 ต้องรับความเสี่ยงอะไรบ้าง?

พ.ร.บ.ขาด ต้องรับความเสี่ยงอะไรบ้าง

โดยปกติ พ.ร.บ. รถยนต์มีอายุ 1 ปี จากนั้นต้องทำเรื่องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใหม่ทันที เพื่อให้ความคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถ้า พ.ร.บ. ขาดเสียค่าปรับเท่าไหร่ หรือจะต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงอะไรบ้าง มาดูกันครับ

ค่าปรับ พ.ร.บ. ขาด

  • ถ้าฝ่าฝืนขับรถโดยไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ต่ออายุ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. ขาด ไม่ว่าจะขาด 1 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป ก็ล้วนมีโทษปรับตามกฎหมายสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตามกฎหมายจราจรทางบก
  • ถ้าไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ เมื่อต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ก็จะไม่มีป้ายวงกลมรถยนต์ หรือป้ายภาษีรถยนต์ ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจพบมีโทษปรับตามกฎหมาย 400-1,000 บาท

ความเสี่ยงที่ต้องเจอ

  • ถ้าขับรถโดยไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์แล้วเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถตกข้างทาง ขับรถชนไม่มีคู่กรณี ขับรถชนคน หรือขับรถชนท้าย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์
  • ถ้ารถ พ.ร.บ. ขาดโดนชนจนบาดเจ็บหรือรถได้รับความเสียหาย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ แต่คุณสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ โดยจะต้องรอให้ผลการพิจารณาคดีออกมาก่อนว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจริง ระหว่างนั้นคุณอาจต้องสำรองจ่ายเงินค่าซ่อมรถ หรือค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเองไปก่อน
  • ขับรถชนไม่มีเงินจ่าย ไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ คู่กรณีต้องไปร้องเรียนกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แล้วกองทุนฯ จะมาไล่เบี้ยค่าเสียหายคืนจากคุณเพื่อไปจ่ายแก่ผู้ประสบภัย พร้อมมีค่าปรับอีก 10,000 บาท

พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ต่อพ.ร.บ. รถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ต่อพ.ร.บ.รถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ไม่มีใครอยากปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด แต่บางคนก็มัวแต่ทำงานจนหลงลืมวันที่ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปี ซึ่งคุณสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วันก่อน พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ ซึ่งตอนนี้คุณก็จะได้ทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ไปพร้อมกันเลย 

และเผื่อว่าเกิดลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ขึ้นมาจริง ๆ จะปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด นี่คือเรื่องที่คุณต้องรู้ว่าถ้า พ.ร.บ. รถยนต์ขาดกี่วัน ต้องทำยังไงบ้าง รถไม่มี พ.ร.บ ปรับเท่าไหร่ แล้วมีเอกสารอะไรไหมที่ใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มาดูกันครับ

  • พ.ร.บ. รถยนต์ขาดไม่เกิน 1 ปี 

ต่อ พ.ร.บ. ได้เลย แต่อาจโดนค่าปรับกรณีภาษีขาด (1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน)

  • พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 2 ปีขึ้นไป 

ต้องตรวจสภาพรถ และไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อทำการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

– ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ

– สมุดทะเบียนรถ

– สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ

จากนั้นให้คุณแจ้งกับกรมขนส่งเพื่อดำเนินเรื่องในขั้นต่อไปซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจดทะเบียน ต่อภาษี รวมไปถึงค่าตรวจเช็คสภาพรถยนต์ เป็นต้น

  •  พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 3 ปีขึ้นไป

ถ้าปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดมากกว่า 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่รถของคุณจะถูกระงับป้ายทะเบียนรถยนต์ ซึ่งคุณต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับ อาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้ 

– ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ

– สมุดทะเบียนรถ

– สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ

โดยกรมการขนส่งทางบกอาจขอเอกสารเพิ่มเติมในวันที่คุณไปดำเนินเรื่อง ดังนั้น หากมีเอกสารอะไรที่เกี่ยวกับรถยนต์ควรนำติดตัวไปด้วยนะครับ

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ขาดต้องทำยังไง? ประกันติดโล่มีคำตอบ


สำหรับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ราคา 100 บาทต่อปีเท่ากันทุกคัน แนะนำว่าอย่าขาดต่อเลยครับ แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ขาด จะมีเงื่อนไขที่คล้ายกัน ดังนี้

  1. พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ขาด 1 เดือน หรือขาดไม่เกิน 1 ปี
    ต่อ พ.ร.บ. ได้เลย แต่อาจโดนค่าปรับกรณีภาษีขาด 1% ของภาษีรถจักรยานยนต์ต่อเดือน ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 120 บาท
  2. พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ขาด 2 ปีขึ้นไป
    สามารถต่อ พ.ร.บ. ได้เลยเช่นกัน แต่ก็จะโดนค่าปรับกรณีภาษีขาดที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนเดือนที่ขาดต่อ พ.ร.บ. ไป
  3. พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ขาด 3 ปีขึ้นไป
    มีโอกาสที่รถของคุณจะถูกระงับป้ายทะเบียนรถยนต์ ซึ่งคุณต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ – พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้ไหม ใช้เงินกี่บาท?

ปัจจุบันคุณสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้แล้ว ไม่ต้องไปที่กรมการขนส่งทางบก หรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้วุ่นวาย ประกันติดโล่เองก็มีบริการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แบออนไลน์ หรือต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ (ซึ่งต้องไปต่อที่สาขาของประกันติดโล่เท่านั้น) ถ้าอยากได้ความสะดวกสบายที่สุด คุณสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ที่แอปประกันติดโล่* โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถ จะแยกไปตามประเภทของรถ ดังนี้ 

*ช่องทางดาวน์โหลด : แอปประกันติดโล่ iOS, แอปประกันติดโล่ Android

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท อัปเดต 2568

  • รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
  • หัวรถลากจูง 2,370 บาท
  • รถพ่วง 600 บาท
  • รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์กี่บาท อัปเดต 2568

  • รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 161.57 บาท
  • รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 323.14 บาท
  • รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 430.14 บาท
  • รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 645.12 บาท

ทั้งนี้ คุณสามารถตรวจสอบอัตราเบี้ยประกันภัยในราคากลางเพื่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล โดยอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการทำ พ.ร.บ. หรือต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และรถประเภทอื่น ๆ

สรุป พ.ร.บ. ขาดปรับเท่าไหร่ 2568

อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. ขาดต่อ คุณสามารถต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วันก่อน พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ ในกรณีที่ไม่สะดวกไปต่อที่กรมขนส่ง ก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านแอปประกันติดโล่ที่เราได้แนะนำไปข้างต้น จะได้ขับขี่รถได้อย่างสบายใจไร้กังวล ถ้าคิดว่าประกันรถยนต์ภาคบังคับยังคุ้มครองไม่พอ สามารถซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถชั้น 2+ประกันรถชั้น 3+ หรือประกันรถมอเตอร์ไซค์เพื่อความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่าเดิมได้ที่ประกันติดโล่ เพราะเราพร้อมดูแลคุณในทุกวันที่ใช้รถใช้ถนน

*ผู้ซื้อควรศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจต่อ พ.ร.บ. ทุกครั้ง



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    404,608
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    402,061
  • วันหยุดยาวเดือนพฤษภาคมมาแล้ว เตรียมคน-รถพร้อมแล้วหรือยัง?
    วันหยุดยาวเดือนพฤษภาคม 2565 มาแล้ว อยากเที่ยวจะแย่ ว่าแต่ว่าจะขับรถเที่ยวทางไกลทั้งทีต้องเตรียมคน-เตรียมรถยังไงบ้างนะ เพื่อให้ทริปนี้มีแต่ความสุข
    397,311